กฎหมายแพ่งและกฎหมายอาญาต่างกันอย่างไร
มีความต่างกันในสาระสำคัญดังต่อไปนี้
(1) แตกต่างกันด้วยลักษณะแห่งกฎหมาย กฎหมายแพ่งเป็นกฎหมายที่ว่าด้วยสิทธิ หน้าที่ และความสัมพันธ์ระหว่างเอชนกับเอกชน อาทิ เช่น สิทธิและหน้าที่ของบิดามารดาที่มีต่อบุตร การสมรส การหย่า มรดก ภูมิลำเนาของบุคคล ส่วนกฎหมายอาญานั้น เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับเอกชน โดยเอกชนมีหน้าที่ต้องเคารพต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ซึ่งกำหนดให้การกระทำอันใดก็ตามเป็นความผิดถ้าหากฝ่าฝืน โดยปกติต้องมีโทษ ตัวอย่างเช่น ความผิดฐานลักทรัพย์ ฐานปล้นทรัพย์ ฐานยักยอก และฐานหมิ่นประมาท เป็นอาทิ
(2) แตกต่างกันด้วยวัตถุประสงค์ของกฎหมาย กฎหมายแพ่งมีวัตถุประสงค์ในอันที่จะอำนวยและรักษาไว้ซึ่งความยุติธรรมในความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชนด้วยกันแม้บางกรณีรัฐจะเข้าไปเป็นคู่กรณีในทางแพ่งก็ตาม รัฐอยู่ในฐานะเป็นเอกชนมีสิทธิหน้าที่อย่างเดียวกับเอกชนอื่นๆทุกประการ ส่วนกฎหมายอาญานั้นมีเจตารมย์ในทางรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง มุ่งประสงค์คุ้มครองให้ความปลอดภัยแก่สังคม เมื่อบุคคลใดละเมิดบทบัญญัติแห่งกฎหมายอาญา กฎหมายถือว่ารัฐเป็นผู้เสียหายโดยตรง จริงอยู่ที่ตามระบบกฎหมายอาญาของไทยเรานั้น เอกชนผู้ถูกล่วงละเมิดสิทธิก็ถือว่าเป็นผู้เสียหาย ฟ้องร้องให้ศาลลงโทษผู้ล่วงละเมิดตนได้ดุจกัน แต่สิทธิของเอกชนดังกล่าว ต้องถือว่าเป็นเพียงข้อยกเว้นของหลักกฎหมายที่ว่ารัฐเป็นผู้เสียหายโดยตรงเท่านั้น
(3) แตกต่างกันด้วยการตีความ ในกฎหมายแพ่งนั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 บัญญัติว่าการตีความกฎหมายย่อมต้องตีความตามตัวอักษร หรือตามความมุ่งหมายของบทบัญญัติแห่งกฎหมายถ้าหากไม่มีบทกฎหมายที่จะยกขึ้นปรับแก่คดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น
ส่วนในกฎหมายอาญานั้นจะตีความอย่างกฎหมายแพ่งไม่ได้ หากแต่ต้องตีความโดยเคร่งครัดจะถือว่าบุคคลใดมีความผิดตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายใด ต้องตีความตามตัวอักษรที่ปรากฏในบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นๆ โดยตรงจะมีการขยายความในบทบัญญัติแห่งกฎหมายออกไปให้ครอบคลุมไปถึงการกระทำอื่นๆ อันใกล้เคียงกับการกระทำที่กฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดมิได้
(4) แตกต่างกันด้วยสภาพบังคับ ในกฎหมายแพ่งนั้น มีสภาพบังคับประเภทหนึ่ง กล่าวคือถ้าหากมีการล่วงละเมิดกฎหมายแพ่ง บุคคลผู้ล่วงละเมิดไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล ก็อาจจะถูกยึดทรัพย์มาขายทอดตลาดเอาเงินที่ขายได้มาชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาล หรือมิฉะนั้นอาจถูกกักขังจนกว่าจะปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลก็ได้ ส่วนในกฎหมายอาญานั้นมีสภาพบังคับอีกประเภทหนึ่ง คือ โทษทางอาญาซึ่งกฎหมายได้บัญญัติไว้สำหรับความผิด ซึ่งโทษดังกล่าวมีอยู่ 5 สถานด้วยกัน คือ โทษประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ และริบทรัพย์สิน
(1) แตกต่างกันด้วยลักษณะแห่งกฎหมาย กฎหมายแพ่งเป็นกฎหมายที่ว่าด้วยสิทธิ หน้าที่ และความสัมพันธ์ระหว่างเอชนกับเอกชน อาทิ เช่น สิทธิและหน้าที่ของบิดามารดาที่มีต่อบุตร การสมรส การหย่า มรดก ภูมิลำเนาของบุคคล ส่วนกฎหมายอาญานั้น เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับเอกชน โดยเอกชนมีหน้าที่ต้องเคารพต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ซึ่งกำหนดให้การกระทำอันใดก็ตามเป็นความผิดถ้าหากฝ่าฝืน โดยปกติต้องมีโทษ ตัวอย่างเช่น ความผิดฐานลักทรัพย์ ฐานปล้นทรัพย์ ฐานยักยอก และฐานหมิ่นประมาท เป็นอาทิ
(2) แตกต่างกันด้วยวัตถุประสงค์ของกฎหมาย กฎหมายแพ่งมีวัตถุประสงค์ในอันที่จะอำนวยและรักษาไว้ซึ่งความยุติธรรมในความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชนด้วยกันแม้บางกรณีรัฐจะเข้าไปเป็นคู่กรณีในทางแพ่งก็ตาม รัฐอยู่ในฐานะเป็นเอกชนมีสิทธิหน้าที่อย่างเดียวกับเอกชนอื่นๆทุกประการ ส่วนกฎหมายอาญานั้นมีเจตารมย์ในทางรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง มุ่งประสงค์คุ้มครองให้ความปลอดภัยแก่สังคม เมื่อบุคคลใดละเมิดบทบัญญัติแห่งกฎหมายอาญา กฎหมายถือว่ารัฐเป็นผู้เสียหายโดยตรง จริงอยู่ที่ตามระบบกฎหมายอาญาของไทยเรานั้น เอกชนผู้ถูกล่วงละเมิดสิทธิก็ถือว่าเป็นผู้เสียหาย ฟ้องร้องให้ศาลลงโทษผู้ล่วงละเมิดตนได้ดุจกัน แต่สิทธิของเอกชนดังกล่าว ต้องถือว่าเป็นเพียงข้อยกเว้นของหลักกฎหมายที่ว่ารัฐเป็นผู้เสียหายโดยตรงเท่านั้น
(3) แตกต่างกันด้วยการตีความ ในกฎหมายแพ่งนั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 บัญญัติว่าการตีความกฎหมายย่อมต้องตีความตามตัวอักษร หรือตามความมุ่งหมายของบทบัญญัติแห่งกฎหมายถ้าหากไม่มีบทกฎหมายที่จะยกขึ้นปรับแก่คดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น
ส่วนในกฎหมายอาญานั้นจะตีความอย่างกฎหมายแพ่งไม่ได้ หากแต่ต้องตีความโดยเคร่งครัดจะถือว่าบุคคลใดมีความผิดตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายใด ต้องตีความตามตัวอักษรที่ปรากฏในบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นๆ โดยตรงจะมีการขยายความในบทบัญญัติแห่งกฎหมายออกไปให้ครอบคลุมไปถึงการกระทำอื่นๆ อันใกล้เคียงกับการกระทำที่กฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดมิได้
(4) แตกต่างกันด้วยสภาพบังคับ ในกฎหมายแพ่งนั้น มีสภาพบังคับประเภทหนึ่ง กล่าวคือถ้าหากมีการล่วงละเมิดกฎหมายแพ่ง บุคคลผู้ล่วงละเมิดไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล ก็อาจจะถูกยึดทรัพย์มาขายทอดตลาดเอาเงินที่ขายได้มาชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาล หรือมิฉะนั้นอาจถูกกักขังจนกว่าจะปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลก็ได้ ส่วนในกฎหมายอาญานั้นมีสภาพบังคับอีกประเภทหนึ่ง คือ โทษทางอาญาซึ่งกฎหมายได้บัญญัติไว้สำหรับความผิด ซึ่งโทษดังกล่าวมีอยู่ 5 สถานด้วยกัน คือ โทษประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ และริบทรัพย์สิน
กฎหมายทะเบียนราษฎร
1. คนเกิดในบ้าน ให้เจ้าบ้านหรือบิดมารดาแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่คนเกิดในบ้านภาย 15 วันนับแต่วันเกิด
2. คนตายให้เจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนตายภายในเวลา 24 ชั่วโมง
3. สูติบัตร เป็นเอกสารแสดงถึง ชื่อตัว ชื่อสกุล สัญชาติ วัน เดือน ปีเกิด ชื่อตัว ชื่อสกุล และสัญชาติของบิดามารดา เป็นเอกสารสำคัญของทางราชการและมีประโยชน์มาก ต้องเก็บรักษาไว้ให้ดีเพื่อนำไปแสดงเป็นหลักฐานได้ทุกโอกาส
4. มรณบัตร เป็นเอกสารสำคัญของทางราชการ ซึ่งเป็นหลักฐานแสดงรายเอียดเกี่ยวกับการตายของบุคคล
5. เมื่อมีบุคคลใดย้ายที่อยู่ออกจากบ้านใด เจ้าบ้านจะต้องแจ้งย้ายที่อยู่ต่อนายทะเบียนผู้มีหน้าที่รับแจ้งภายในเวลาไม่เกิน 15 วัน นับแต่วันย้ายออก
6. เมื่อมีบุคคลใดย้ายที่อยู่เข้ามาในบ้านใด เจ้าบ้านตะต้องแจ้งการย้ายเข้าที่อยู่ภายใน 15 วัน นับแต่วันย้ายเข้า
กฎหมายการเกณฑ์ทหาร
2. คนตายให้เจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนตายภายในเวลา 24 ชั่วโมง
3. สูติบัตร เป็นเอกสารแสดงถึง ชื่อตัว ชื่อสกุล สัญชาติ วัน เดือน ปีเกิด ชื่อตัว ชื่อสกุล และสัญชาติของบิดามารดา เป็นเอกสารสำคัญของทางราชการและมีประโยชน์มาก ต้องเก็บรักษาไว้ให้ดีเพื่อนำไปแสดงเป็นหลักฐานได้ทุกโอกาส
4. มรณบัตร เป็นเอกสารสำคัญของทางราชการ ซึ่งเป็นหลักฐานแสดงรายเอียดเกี่ยวกับการตายของบุคคล
5. เมื่อมีบุคคลใดย้ายที่อยู่ออกจากบ้านใด เจ้าบ้านจะต้องแจ้งย้ายที่อยู่ต่อนายทะเบียนผู้มีหน้าที่รับแจ้งภายในเวลาไม่เกิน 15 วัน นับแต่วันย้ายออก
6. เมื่อมีบุคคลใดย้ายที่อยู่เข้ามาในบ้านใด เจ้าบ้านตะต้องแจ้งการย้ายเข้าที่อยู่ภายใน 15 วัน นับแต่วันย้ายเข้า
กฎหมายการเกณฑ์ทหาร
หน้าที่ของชายไทยทุกคนต้องรับราชการทหาร พูดง่าย ๆ ว่า "ต้องไปเกณฑ์ทหาร" ซึ่งการรับใช้ชาติด้วยการเป็นทหารเป็นเรื่อง ที่มีเกียรติมี
ศักดิ์ศรี เพราะกองทัพไทยจะฝึกฝนผู้เข้ารับราชการหารให้มีระเบียบ วินัย ฝึกหัดวิชาชีพเพิ่มพูนความรู้ในด้านต่าง ๆ อัน เป็นประโยชน์และมีคุณค่าอย่างมาก
แก่ทหารเกณฑ์ทุกคน ซึ่งปกติการเกณฑ์ทหารจะกระทำกันในช่วงเดือน เม.ย. ของทุกปี ปีละครั้ง และต้องเข้ารับราชการเป็นทหารเกณฑ์จำนวน ๒ ปี แต่มีข้อยกเว้นและผ่อนผันสำหรับผู้ที่เรียนวิชารักษาดินแดน(ร.ต.) หรือผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับต่าง ๆ ซึ่งกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร
และกฎกระทรวง ซึ่งจะกล่าวต่อไป
๑.หน้าที่ของชายไทยที่จะต้องเกี่ยวกับการรับราชการทหารมีดังนี้
๑.๑ การลงบัญชีทหารกองเกิน (การขึ้นทะเบียนทหาร) ชายไทยเมื่ออายุย่างเข้า ๑๘ ปี (๑๗ ปีบริบูรณ์) ให้ไปแสดงตนเพื่อขึ้นทะเบียนทหารภายใน
ปี พ.ศ.นั้น
๑.๒ การรับหมายเรียก(การรับหมายเกณฑ์) ทหารกองเกินทุกคนเมื่อมีอายุย่างเข้า ๒๑ ปี (๒๐ ปี บริบูรณ์ ) ใน พ.ศ. ใดต้องไปแสดงตนเพื่อรับหมาย
เรียกที่อำเภอท้องที่ที่เป็นภูมิลำเนาทหารของตน ภายใน พ.ศ.นั้น
๑.๓ การเข้ารับการตรวจเลือก (การเข้าเกณฑ์ทหาร)ทหารกองเกินเมื่อได้รับหมายเรียกแล้วจะต้องไปเกณฑ์ทหารตามวัน เวลา และสถานที่ที่กำหนด
ไว้ในหมายเรียก
๑.๔ การเข้ารับการเรียกพลของทหารกองหนุน ทหารที่ปลดจากกองประจำการโดยรับราชการในกองประจำการจนครบตามที่กฎหมายกำหนด หรือทหารกองเกินซึ่งสำเร็จการฝึกวิชาทหารตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร และได้ขึ้นทะเบียนกองประจำการแล้วปลดเป็นทหารกองหนุน
เมื่อมีหมายเรียกพล (เพื่อตรวจสอบ เพื่อฝึกวิชาทหาร หรือเพื่อทดลองความพรั่งพร้อม) จะต้องไปรายงานตัวเพื่อเข้ารับการฝึก หรือทบทวนวิชาทหาร ให้มี
ความรู้ความสามารถพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๒.บุคคลที่จะได้สัญชาติไทย จะต้องเข้าหลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
๒.๑ เกิดโดยบิดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย
๒.๒ เกิดนอกราชอาณาจักรไทย โดยมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย แต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายหรือบิดาไม่มีสัญชาติ
๒.๓ เกิดในราชอาณาจักรไทย (นอกจากผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย ที่มีบิดามารดาเป็นคนต่างด้าว และขณะที่เกิดบิดามารดาเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต หรือเจ้าหน้าที่ในคณะผู้แทนทางการทูต หรือพนักงานหรือผู้เชี่ยวชาญขององค์การระหว่างประเทศ และคนในครอบครัว ซึ่งเป็นญาติอยู่ในอุปการะหรือคนใช้ ซึ่งเดินทางมาอยู่กับบุคคลดังกล่าว)
๒.๔ ผู้ที่ได้แปลงสัญชาติเป็นไทยตามกฎหมาย
๒.๕ บุคคลที่ได้กลับคืนสัญชาติไทย ชายที่มีสัญชาติไทย เริ่มผูกพันกับกฎหมายรับราชการทหาร ตั้งแต่อายุครบ ๑๗ ปีบริบูรณ์ หรือ อายุย่างเข้า
๑๘ ปี ในวาระแรกที่ได้ขึ้นทะเบียนทหารที่อำเภอตามที่กฎหมายกำหนด
๓.การนับอายุ คนเกิดในวันใดเดือนใดก็ตามปีเดียวกัน เมื่อสิ้นปีนั้น อายุจะเท่ากันหมด คือ ๑ ปีบริบูรณ์และนับเป็นอายุย่าง ๒ ปีด้วย เช่น คนเกิดวันที่ ๑ ม.ค.๒๕๔๐ กับคนเกิดวันที่ ๓๑ ธ.ค.๒๕๔๐ เมื่อสิ้นปี ๒๕๔๐ และในวันที่ ๑ ม.ค.๒๕๔๑ ให้นับอายุครบ ๑ ปีบริบูรณ์ และจะมีอายุย่าง ๒ ปี เท่ากัน เรื่อยไปจนถึงวันที่ ๓๑ ธ.ค.๒๕๔๑ และเมื่อสิ้นปี ๒๕๔๑ แล้ว ในวันที่ ๑ ม.ค.๒๕๔๒ ให้นับอายุครบ ๒ ปีบริบูรณ์และจะมีอายุย่าง ๓ ปี ด้วยให้นับเช่นนี้ไป
เรื่อย ๆ ตามที่ต้องการ การจะทราบว่าอายุปัจจุบันเท่าใด้ให้เอา พ.ศ.ปัจจุบันตั้งลบด้วย พ.ศ.เกิด เช่น คนเกิด พ.ศ.๒๕๒๔ จะมีอายุครบ ๑๗ ปีบริบูรณ์ หรือย่างเข้า ๑๘ ปี ตลอดปี ๒๕๔๑ คือ อายุครบและอายุย่าง ตั้งแต่วันที่ ๑ ม.ค.๔๑ - วันที่ ๓๑ ธ.ค.๔๑
กฎหมายการศึกษา
ศักดิ์ศรี เพราะกองทัพไทยจะฝึกฝนผู้เข้ารับราชการหารให้มีระเบียบ วินัย ฝึกหัดวิชาชีพเพิ่มพูนความรู้ในด้านต่าง ๆ อัน เป็นประโยชน์และมีคุณค่าอย่างมาก
แก่ทหารเกณฑ์ทุกคน ซึ่งปกติการเกณฑ์ทหารจะกระทำกันในช่วงเดือน เม.ย. ของทุกปี ปีละครั้ง และต้องเข้ารับราชการเป็นทหารเกณฑ์จำนวน ๒ ปี แต่มีข้อยกเว้นและผ่อนผันสำหรับผู้ที่เรียนวิชารักษาดินแดน(ร.ต.) หรือผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับต่าง ๆ ซึ่งกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร
และกฎกระทรวง ซึ่งจะกล่าวต่อไป
๑.หน้าที่ของชายไทยที่จะต้องเกี่ยวกับการรับราชการทหารมีดังนี้
๑.๑ การลงบัญชีทหารกองเกิน (การขึ้นทะเบียนทหาร) ชายไทยเมื่ออายุย่างเข้า ๑๘ ปี (๑๗ ปีบริบูรณ์) ให้ไปแสดงตนเพื่อขึ้นทะเบียนทหารภายใน
ปี พ.ศ.นั้น
๑.๒ การรับหมายเรียก(การรับหมายเกณฑ์) ทหารกองเกินทุกคนเมื่อมีอายุย่างเข้า ๒๑ ปี (๒๐ ปี บริบูรณ์ ) ใน พ.ศ. ใดต้องไปแสดงตนเพื่อรับหมาย
เรียกที่อำเภอท้องที่ที่เป็นภูมิลำเนาทหารของตน ภายใน พ.ศ.นั้น
๑.๓ การเข้ารับการตรวจเลือก (การเข้าเกณฑ์ทหาร)ทหารกองเกินเมื่อได้รับหมายเรียกแล้วจะต้องไปเกณฑ์ทหารตามวัน เวลา และสถานที่ที่กำหนด
ไว้ในหมายเรียก
๑.๔ การเข้ารับการเรียกพลของทหารกองหนุน ทหารที่ปลดจากกองประจำการโดยรับราชการในกองประจำการจนครบตามที่กฎหมายกำหนด หรือทหารกองเกินซึ่งสำเร็จการฝึกวิชาทหารตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร และได้ขึ้นทะเบียนกองประจำการแล้วปลดเป็นทหารกองหนุน
เมื่อมีหมายเรียกพล (เพื่อตรวจสอบ เพื่อฝึกวิชาทหาร หรือเพื่อทดลองความพรั่งพร้อม) จะต้องไปรายงานตัวเพื่อเข้ารับการฝึก หรือทบทวนวิชาทหาร ให้มี
ความรู้ความสามารถพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๒.บุคคลที่จะได้สัญชาติไทย จะต้องเข้าหลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
๒.๑ เกิดโดยบิดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย
๒.๒ เกิดนอกราชอาณาจักรไทย โดยมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย แต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายหรือบิดาไม่มีสัญชาติ
๒.๓ เกิดในราชอาณาจักรไทย (นอกจากผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย ที่มีบิดามารดาเป็นคนต่างด้าว และขณะที่เกิดบิดามารดาเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต หรือเจ้าหน้าที่ในคณะผู้แทนทางการทูต หรือพนักงานหรือผู้เชี่ยวชาญขององค์การระหว่างประเทศ และคนในครอบครัว ซึ่งเป็นญาติอยู่ในอุปการะหรือคนใช้ ซึ่งเดินทางมาอยู่กับบุคคลดังกล่าว)
๒.๔ ผู้ที่ได้แปลงสัญชาติเป็นไทยตามกฎหมาย
๒.๕ บุคคลที่ได้กลับคืนสัญชาติไทย ชายที่มีสัญชาติไทย เริ่มผูกพันกับกฎหมายรับราชการทหาร ตั้งแต่อายุครบ ๑๗ ปีบริบูรณ์ หรือ อายุย่างเข้า
๑๘ ปี ในวาระแรกที่ได้ขึ้นทะเบียนทหารที่อำเภอตามที่กฎหมายกำหนด
๓.การนับอายุ คนเกิดในวันใดเดือนใดก็ตามปีเดียวกัน เมื่อสิ้นปีนั้น อายุจะเท่ากันหมด คือ ๑ ปีบริบูรณ์และนับเป็นอายุย่าง ๒ ปีด้วย เช่น คนเกิดวันที่ ๑ ม.ค.๒๕๔๐ กับคนเกิดวันที่ ๓๑ ธ.ค.๒๕๔๐ เมื่อสิ้นปี ๒๕๔๐ และในวันที่ ๑ ม.ค.๒๕๔๑ ให้นับอายุครบ ๑ ปีบริบูรณ์ และจะมีอายุย่าง ๒ ปี เท่ากัน เรื่อยไปจนถึงวันที่ ๓๑ ธ.ค.๒๕๔๑ และเมื่อสิ้นปี ๒๕๔๑ แล้ว ในวันที่ ๑ ม.ค.๒๕๔๒ ให้นับอายุครบ ๒ ปีบริบูรณ์และจะมีอายุย่าง ๓ ปี ด้วยให้นับเช่นนี้ไป
เรื่อย ๆ ตามที่ต้องการ การจะทราบว่าอายุปัจจุบันเท่าใด้ให้เอา พ.ศ.ปัจจุบันตั้งลบด้วย พ.ศ.เกิด เช่น คนเกิด พ.ศ.๒๕๒๔ จะมีอายุครบ ๑๗ ปีบริบูรณ์ หรือย่างเข้า ๑๘ ปี ตลอดปี ๒๕๔๑ คือ อายุครบและอายุย่าง ตั้งแต่วันที่ ๑ ม.ค.๔๑ - วันที่ ๓๑ ธ.ค.๔๑
กฎหมายการศึกษา
คลิกเพื่อเข้าชมเนื้อหา
กฎหมายเลือกตั้ง
กฎหมายเลือกตั้ง
สถานะของกฎหมายเลือกตั้งภายหลังการยึดอำนาจการปกครอง•รัฐธรรมนูญถูกยกเลิกการใช้บังคับ และส่งผลให้กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาสิ้นสุดตามไปด้วย เนื่องจากคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) มิได้ออกประกาศให้กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าวมีผลใช้บังคับอยู่ต่อไป
•กฎหมายเลือกตั้งในขณะนี้จึงคงอยู่แต่เฉพาะพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2546
หัวข้อ
1.โทษทางอาญาเกี่ยวกับการเลือกตั้ง
2.แนวทางการดำเนินคดีอาญากับผู้กระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง
3.วิธีการดำเนินคดีอาญากับผู้กระทำผิด
วัตถุประสงค์และลักษณะพิเศษของกฎหมายเลือกตั้ง
•ตามมาตรา 11
•สุจริต ไม่มีการโกง การใช้เงินซื้อเสียง ฯลฯ
•เที่ยงธรรม ไม่มีการกลั่นแกล้ง ใส่ร้ายป้ายสี เอารัดเอาเปรียบ ฯลฯ
•เรียบร้อย ไม่มีความปั่นป่วน วุ่นวาย
•เป็นกฎหมายมหาชน ถือการคุ้มครองประโยชน์ของมหาชนเป็นหลักยิ่งกว่าเอกชน
ใบเหลืองและใบแดงตามกฎหมายเลือกตั้ง
•ใบเหลือง คือ มติคณะกรรมการการเลือกตั้งให้จัดการเลือกตั้งใหม่ (มาตรา 95)
•ใบแดง คือ มติคณะกรรมการการเลือกตั้งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งหนึ่งปีและให้จัดการเลือกตั้งใหม่ (มาตรา 96)
•มติ กกต.เกี่ยวกับใบเหลืองและใบแดง ไม่ใช่คำวินิจฉัยว่าผู้สมัครทำผิดทางอาญา เว้นแต่จะมีพยานหลักฐาน ฯลฯ
กฎหมายอาญากับการเลือกตั้ง
•“No crime, No punishment, without Law”
ไม่มีกฎหมาย ไม่มีความผิด ไม่มีโทษ
•Due Process of Law
หลักนิติธรรมตามวิธีพิจารณาความอาญา
1. โทษทางอาญาเกี่ยวกับการเลือกตั้ง สามารถจำแนกประเภทความผิดที่มีโทษทางอาญาได้ตามพฤติการณ์ที่พบว่ามีการร้องเรียนการกระทำความผิด ดังนี้•การกระทำความผิดของผู้สมัครรับเลือกตั้งเองหรือผู้สนับสนุน
•การกระทำความผิดของเจ้าหน้าที่
•การกระทำความผิดของบุคคลอื่นโดยทั่วไป
การกระทำความผิดของผู้สมัครรับเลือกตั้งเองหรือผู้สนับสนุน เช่น
•ตามมาตรา 57
•การ จัดทำ ให้ เสนอให้ สัญญาว่าจะให้ หรือจัดเตรียมเพื่อจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้ แก่ผู้ใดหรือแก่ชุมชน วัด สถานศึกษา (1) และ (2)
•หาเสียงด้วยการจัดให้มีมหรสพหรือการรื่นเริงต่าง ๆ (3)
•เลี้ยงหรือรับจะจัดเลี้ยง (4)
•หลอกลวง บังคับ ข่มขู่ ใช้อิทธิพลคุกคาม ใส่ร้าย (5)
•การจัดยานพาหนะรับและหรือส่งผู้ใช้สิทธิ ตามมาตรา 58
การกระทำความผิดของเจ้าหน้าที่ •ใช้ตำแหน่งหน้าที่กระทำการใด ๆ อันเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัคร (มาตรา 60) เช่น ลงชื่อแทนผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยทุจริต แจ้งจำนวนผู้มาแสดงตนเพื่อใช้สิทธิเลือกตั้งโดยผิดจากความเป็นจริง การกาบัตรเลือกตั้งที่เหลืออยู่โดยทุจริต ฯลฯ
•การใช้บัตรเลือกตั้งปลอม การพิมพ์บัตรเลือกตั้งเกินกว่าจำนวนผู้มาใช้สิทธิ
•การเปลี่ยนหีบบัตรในระหว่างการจัดส่งหีบบัตรมายังหน่วยนับคะแนน
•การจงใจนับบัตรเลือกตั้ง อ่านบัตรเลือกตั้ง นับคะแนนเลือกตั้ง หรือรวมคะแนนเลือกตั้งผิดจากความจริง
การกระทำความผิดของบุคคลอื่นโดยทั่วไป •การจ่าย แจก เงินหรือสิ่งของ การจัดเลี้ยง (มาตรา 81)
•เรียก รับ เพื่อลงคะแนน หรือไม่ลงคะแนน (มาตรา 82)
•การขัดขวาง หน่วงเหนี่ยวผู้ใช้สิทธิ (มาตรา 80)
2. แนวทางการดำเนินคดีอาญากับผู้กระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง
หลักการ •ต้องนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษให้ได้ตามที่กฎหมายบัญญัติอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน
•เจ้าหน้าที่ต้องไม่มีอคติทั้ง 4 (คือ ชอบ ชัง กลัว โลภ) ในการดำเนินการกับผู้กระทำผิด
•ต้องแสวงหาพยานหลักฐานที่เพียงพอต่อการพิสูจน์ความผิดของจำเลย อย่าให้มีข้อสงสัยว่าจำเลยได้กระทำผิดหรือไม่
อุปสรรค •ผู้กระทำผิดมักเป็นลูกน้อง หัวคะแนน พวกพ้อง หรือญาติพี่น้องของนักการเมืองซึ่งมีอิทธิพลในพื้นที่
•มีเรื่องร้องเรียนแต่ละเขตเลือกตั้งเป็นจำนวนมาก ทำให้ระยะเวลาในการรวบรวมพยานหลักฐานแต่ละเรื่องมีน้อย
•พยาน หลักฐานที่ชัดแจ้งแสดงถึงการกระทำผิด เช่น ภาพจากกล้องวิดีโอ ภาพถ่าย เทปบันทึกเสียง ฯลฯ มีน้อยไม่เพียงพอต่อการสนับสนุนเจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน
3. วิธีการดำเนินคดีอาญากับผู้กระทำผิด
•กกต.ควรขอความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่นอกพื้นที่เพื่อทำหน้าที่เป็นชุดรับแจ้งเหตุ และจับกุมการกระทำความผิดในช่วงหาเสียงเพิ่มเติมนอกเหนือจากเจ้าหน้าที่ในพื้นที่
•การสืบสวนอาจต้องใช้อาสาสมัครในการเก็บข้อมูลอย่างลับ ๆ และใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ เช่น กล้องวิดีโอ mp3 ที่บันทึกเสียงได้ เป็นต้น เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดี
•การสอบสวน เจ้าหน้าที่ควรต้องสอบให้ถึงวัตถุประสงค์หรือมูลเหตุจูงใจในการกระทำผิดกฎหมายการเลือกตั้งอย่างชัดเจน เช่น การจัดเลี้ยง การบริจาคเงินหรือสิ่งของ โดยอ้างว่าเป็นไปตามวาระแห่งประเพณีนั้น ผู้ถูกกล่าวหาได้จัดงานหรือบริจาคเงินหรือสิ่งของเช่นนี้เรื่อยมาเป็นปกติ หรือไม่
•การตั้งคำถาม และการสอบสวน ควรต้องให้ผู้ถูกกล่าวหานำพยานหลักฐานมาพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนเอง
•การสอบสวนผู้ถูกกล่าวหา ควรมีการบันทึกเทปวิดีโอไว้ด้วย เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในศาลที่แสดงถึงพฤติการณ์ของจำเลย เพื่อเพิ่มน้ำหนัก และความน่าเชื่อถือให้มากขึ้น ทั้งทำให้การกลับคำให้การทำได้ยากขึ้น
•กกต.ควรกำหนดแนวทางและวิธีปฏิบัติในการตรวจสอบบัญชีค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้ง ให้ถูกต้องและเคร่งครัดยิ่งขึ้น เพื่อป้องกันการใช้เงินในการเลือกตั้งมากเกินสมควร ซึ่งเป็นการเอาเปรียบผู้สมัครรายอื่น รวมทั้งจัดให้มีการฝึกอบรมแก่เจ้าหน้าที่ของ กกต.อย่างทั่วถึงและเพียงพอ
อุดมการณ์ของเจ้าหน้าที่ กกต.
•กกต.เป็นหัวใจที่จะประกันให้การเลือกตั้งบริสุทธิ์ยุติธรรม
•เจ้าหน้าที่ กกต.จึงต้องเป็นกลาง มีเหตุผล และเป็นธรรม
•การทำงานของ กกต.จึงเป็นการทำงานเพื่อชาติ เพื่อประชาชน
•ไม่ใช่เพื่อคนกลุ่มใด กลุ่มหนึ่ง
กฎหมายพรรคการเมือง
1) การจัดองค์กรของพรรคการเมือง
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดองค์กรภายของพรรคการเมืองดังต่อไปนี้
- คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินกิจการของพรรคการเมืองให้เป็นไปตามนโยบาย ข้อบังคับและมติของที่ประชุมใหญ่ของพรรค (มาตรา20)
- คณะกรรมการบริหารพรรคประกอบด้วย หัวหน้าพรรคการเมือง รองหัวหน้าพรรคการเมือง เลขาธิการพรรคการเมือง รองเลขาธิการพรรคการเมือง เหรัญญิกพรรคการเมือง โฆษกพรรคการเมืองและคณะกรรมการบริหารอื่นๆ ซึ่งเลือกตั้งจากสมาชิกซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ (มาตรา12)
2) การรวมและการยุบพรรคการเมืองเจตนารมณ์ของกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูปการเมืองนั้นต้องการส่งเสริมเสถียรภาพของพรรคการเมืองและต้องการให้ระบบการเมืองไทยมีพรรคการเมืองที่เข้มแข็งเพียงน้อยพรรค ดังนั้นพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฉบับปี พ.ศ. 2541 จึงวางหลักเกณฑ์เงื่อนไขส่งเสริมให้พรรคการเมืองขนาดเล็กยุบพรรคหรือรวมพรรคเพื่อให้เกิดพรรคการเมืองที่มีขนาดใหญ่ขึ้น
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฉบับปี พ.ศ. 2541 ได้วางหลักเกณฑ์ในการรวมพรรคไว้ดังนี้
2.1 การรวมพรรคการเมือง
2.1.1 การรวมพรรคการเมืองเพื่อจัดตั้งเป็นพรรคการเมืองใหม่ กฎหมายได้วางหลักเกณฑ์ไว้ดังนี้ (มาตรา 70)
1) ในกรณีที่เป็นการรวมพรรคเพื่อจัดตั้งเป็นพรรคการเมืองใหม่นั้น พรรคที่จะรวมกัน
จะต้องขอความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่ของแต่ละพรรค
2) เมื่อที่ประชุมใหญ่ของแต่ละพรรคเห็นชอบแล้ว ให้หัวหน้าพรรคและกรรมการบริหาร
พรรคจำนวนพรรคละ 10 คน ประชุมร่วมกันเพื่อกำหนดนโยบายพรรคการเมืองและข้อบังคับพรรคการเมือง
3) เมื่อได้ดำเนินการดังกล่าวแล้ว ก็ให้มีการจัดประชุมร่วมกันระหว่างสมาชิกของทุกพรรคการเมืองที่จะรวมกัน เพื่อประชุมจัดตั้งพรรคการเมือง การเรียกประชุมจัดตั้งพรรคต้องแจ้งให้สมาชิกของพรรคทราบก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน
4) เมื่อนายทะเบียนจดแจ้งการตั้งพรรคการเมืองแล้ว นายทะเบียนต้องดำเนินการตามมาตรา 62 วรรค 2 เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้พรรคการเมืองที่รวมเข้ากันเป็นอันยุบไป และให้ ส.ส. ที่สังกัดพรรคการเมืองเดิมเป็น ส.ส. ที่สังกัดพรรคการเมืองใหม่
2.1.2 การรวมพรรคการเมืองเข้าเป็นพรรคเดียวกับอีกพรรคการเมืองที่เป็นหลัก
การรวมพรรคการเมืองเข้าเป็นพรรคเดียวกับอีกพรรคการเมืองที่เป็นหลัก กฎหมายได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ดังนี้
1) ในกรณีที่การรวมพรรคการเมืองเป็นการรวมพรรคหนึ่งหรือหลายพรรคการเมือง เข้าเป็นพรรคการเมืองกับอีกพรรคการเมืองที่เป็นหลัก พรรคการเมืองที่จะรวมกัน ต้องขอความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่ของแต่ละพรรค
2) เมื่อที่ประชุมใหญ่ของพรรคเห็นชอบให้รวมกันแล้ว หัวหน้าพรรคการเมืองที่จะรวมตัวกันทุกพรรคต้องแจ้งการรวมพรรคต่อนายทะเบียน และให้นายทะเบียนดำเนินการตามมาตรา 62 วรรค 2 คือยื่นร่วมต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ความปรากฏต่อนายทะเบัยน เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้พรรคการเมืองที่รวมเข้ากับอีกพรรคการเมืองที่เป็นหลักนั้นยุบไป นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง
2.2 การเลิกและการยุบพรรคการเมือง
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฉบับปี พ.ศ. 2541ได้กำหนดไว้ว่าพรรคการเมืองย่อมเลิกหรือยุบด้วยสาเหตุดังต่อไปนี้ (มาตรา 65)
1) มีเหตุต้องเลิกตามข้อบังคับพรรคการเมือง
2) มีจำนวนสมาชิกเหลือไม่ถึง 15 คน
3) มีการยุบพรรคการเมืองไปรวมกับพรรคการเมืองอื่น
4) มีคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคการเมือง
5) ไม่ดำเนินการตามกฎหมาย อาทิเช่น องค์ประกอบของที่ประชุมใหญ่ของพรรคการเมืองไม่ครบ หรือไม่สามารถหาสมาชิกได้อย่างน้อย 5,000 คนภายใน 180 วันนับแต่วันที่นายทะเบียนรับจดแจ้งจัดตั้งพรรคการเมือง
3) ระบบเงินสนับสนุนพรรคการเมืองระบบเงินอุดหนุนพรรคการเมืองโดยทั่วไปแบ่งเป็น 2 ระบบคือ ระบบเงินอุดหนุนจากเอกชน (Private Financing) และระบบเงินอุดหนุนจากรัฐ(Public Financing) (สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ : 270)
3.1 ระบบเงินอุดหนุนจากเอกชน (Private Financing) หมายถึงการได้มาซึ่งรายรับของพรรคการเมืองจากผู้สนับสนุนทางการเมืองซึ่งอาจเป็นบุคคลธรรมดาหรือองค์กรทางธุรกิจหรือองค์กรอื่นๆ
การบริจาคเงินเพื่อให้พรรคการเมืองนำไปดำเนินการตามนโยบายของพรรคการเมืองนั้นต้องดำเนินไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ดังนี้
“ห้ามมิให้พรรคการเมือง หรือสมาชิกผู้ใดรับเงินทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดจากผู้ใด เพื่อสนับสนุนการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักร ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดินหรือกระทำอันเป็นการทำลายทรัพยากรของประเทศหรือเป็นการบั่นทอนสุขภาพอนามัยของประชาชน”(มาตรา 52)
นอกจากนี้กฎหมายพรรคการเมืองห้ามมิให้พรรคการเมือง หรือสมาชิกผู้ใดรับเงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดเพื่อดำเนินกิจการของพรรคการเมืองหรือดำเนินกิจการทางการเมืองจากบุคคลหรือองค์กรดังต่อไปนี้ (มาตรา 53)
(1) บุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทย
(2) นิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจหรือกิจการหรือจดทะเบียนสาขาอยู่
ในหรือนอกอาณาจักร
(3) นิติบุคคลที่จดทะเบียนในราชอาณาจักร ซึ่งบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยมีทุนหรือเป็นผู้ถือ
หุ้นเกินร้อยละยี่สิบห้า
(4) องค์กรหรือนิติบุคคลที่ได้รับทุนหรือได้รับเงินอุดหนุนจากต่างประเทศซึ่งมี
วัตถุประสงค์ดำเนินกิจการเพื่อผลประโยชน์ของบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทย หรือมีผู้จัดการ
หรือกรรมการเป็นบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทย
(5) บุคคล องค์กร หรือนิติบุคคลตามที่ได้รับเงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดเพื่อดำเนิน
กิจการของพรรคการเมืองหรือเพื่อดำเนินกิจการในทางการเมืองจากบุคคลองค์การหรือ
นิติบุคคลตาม (1) (2) (3) (4)
(6) บุคคล องค์การหรือนิติบุคคลตามที่กำหนดในประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ทั้งนี้ การห้ามพรรคการเมืองรับเงินสนับสนุนจากบุคคลหรือองค์การดังกล่าวก็เพื่อป้องกันไม่ให้พรรคการเมืองถูกแทรกแซงหรือครอบงำจากบุคคลหรือองค์กรจากต่างชาติ นอกจากนี้เพื่อให้การดำเนินงานของพรรคการเมืองเป็นไปด้วยความโปร่งใสและตรวจสอบได้ กฎหมายจึงได้กำหนดให้หัวหน้าพรรค กรรมการบริหารพรรคและกรรมการสาขาพรรคการเมืองมีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู้สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (มาตรา 42)
3.2 ระบบเงินอุดหนุนจากรัฐ เนื่องจากพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฉบับปี พ.ศ. 2541 ระบุว่า รัฐจะต้องสนับสนุนการดำเนินงานของพรรคการเมืองโดยการให้เงินอุดหนุนแก่พรรคการเมืองตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อต้องการให้พรรคการเมืองปลอดจากอิทธิพลครอบงำจากกลุ่มทุนหรือองค์กรที่สนับสนุนอยู่
•กฎหมายเลือกตั้งในขณะนี้จึงคงอยู่แต่เฉพาะพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2546
หัวข้อ
1.โทษทางอาญาเกี่ยวกับการเลือกตั้ง
2.แนวทางการดำเนินคดีอาญากับผู้กระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง
3.วิธีการดำเนินคดีอาญากับผู้กระทำผิด
วัตถุประสงค์และลักษณะพิเศษของกฎหมายเลือกตั้ง
•ตามมาตรา 11
•สุจริต ไม่มีการโกง การใช้เงินซื้อเสียง ฯลฯ
•เที่ยงธรรม ไม่มีการกลั่นแกล้ง ใส่ร้ายป้ายสี เอารัดเอาเปรียบ ฯลฯ
•เรียบร้อย ไม่มีความปั่นป่วน วุ่นวาย
•เป็นกฎหมายมหาชน ถือการคุ้มครองประโยชน์ของมหาชนเป็นหลักยิ่งกว่าเอกชน
ใบเหลืองและใบแดงตามกฎหมายเลือกตั้ง
•ใบเหลือง คือ มติคณะกรรมการการเลือกตั้งให้จัดการเลือกตั้งใหม่ (มาตรา 95)
•ใบแดง คือ มติคณะกรรมการการเลือกตั้งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งหนึ่งปีและให้จัดการเลือกตั้งใหม่ (มาตรา 96)
•มติ กกต.เกี่ยวกับใบเหลืองและใบแดง ไม่ใช่คำวินิจฉัยว่าผู้สมัครทำผิดทางอาญา เว้นแต่จะมีพยานหลักฐาน ฯลฯ
กฎหมายอาญากับการเลือกตั้ง
•“No crime, No punishment, without Law”
ไม่มีกฎหมาย ไม่มีความผิด ไม่มีโทษ
•Due Process of Law
หลักนิติธรรมตามวิธีพิจารณาความอาญา
1. โทษทางอาญาเกี่ยวกับการเลือกตั้ง สามารถจำแนกประเภทความผิดที่มีโทษทางอาญาได้ตามพฤติการณ์ที่พบว่ามีการร้องเรียนการกระทำความผิด ดังนี้•การกระทำความผิดของผู้สมัครรับเลือกตั้งเองหรือผู้สนับสนุน
•การกระทำความผิดของเจ้าหน้าที่
•การกระทำความผิดของบุคคลอื่นโดยทั่วไป
การกระทำความผิดของผู้สมัครรับเลือกตั้งเองหรือผู้สนับสนุน เช่น
•ตามมาตรา 57
•การ จัดทำ ให้ เสนอให้ สัญญาว่าจะให้ หรือจัดเตรียมเพื่อจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้ แก่ผู้ใดหรือแก่ชุมชน วัด สถานศึกษา (1) และ (2)
•หาเสียงด้วยการจัดให้มีมหรสพหรือการรื่นเริงต่าง ๆ (3)
•เลี้ยงหรือรับจะจัดเลี้ยง (4)
•หลอกลวง บังคับ ข่มขู่ ใช้อิทธิพลคุกคาม ใส่ร้าย (5)
•การจัดยานพาหนะรับและหรือส่งผู้ใช้สิทธิ ตามมาตรา 58
การกระทำความผิดของเจ้าหน้าที่ •ใช้ตำแหน่งหน้าที่กระทำการใด ๆ อันเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัคร (มาตรา 60) เช่น ลงชื่อแทนผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยทุจริต แจ้งจำนวนผู้มาแสดงตนเพื่อใช้สิทธิเลือกตั้งโดยผิดจากความเป็นจริง การกาบัตรเลือกตั้งที่เหลืออยู่โดยทุจริต ฯลฯ
•การใช้บัตรเลือกตั้งปลอม การพิมพ์บัตรเลือกตั้งเกินกว่าจำนวนผู้มาใช้สิทธิ
•การเปลี่ยนหีบบัตรในระหว่างการจัดส่งหีบบัตรมายังหน่วยนับคะแนน
•การจงใจนับบัตรเลือกตั้ง อ่านบัตรเลือกตั้ง นับคะแนนเลือกตั้ง หรือรวมคะแนนเลือกตั้งผิดจากความจริง
การกระทำความผิดของบุคคลอื่นโดยทั่วไป •การจ่าย แจก เงินหรือสิ่งของ การจัดเลี้ยง (มาตรา 81)
•เรียก รับ เพื่อลงคะแนน หรือไม่ลงคะแนน (มาตรา 82)
•การขัดขวาง หน่วงเหนี่ยวผู้ใช้สิทธิ (มาตรา 80)
2. แนวทางการดำเนินคดีอาญากับผู้กระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง
หลักการ •ต้องนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษให้ได้ตามที่กฎหมายบัญญัติอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน
•เจ้าหน้าที่ต้องไม่มีอคติทั้ง 4 (คือ ชอบ ชัง กลัว โลภ) ในการดำเนินการกับผู้กระทำผิด
•ต้องแสวงหาพยานหลักฐานที่เพียงพอต่อการพิสูจน์ความผิดของจำเลย อย่าให้มีข้อสงสัยว่าจำเลยได้กระทำผิดหรือไม่
อุปสรรค •ผู้กระทำผิดมักเป็นลูกน้อง หัวคะแนน พวกพ้อง หรือญาติพี่น้องของนักการเมืองซึ่งมีอิทธิพลในพื้นที่
•มีเรื่องร้องเรียนแต่ละเขตเลือกตั้งเป็นจำนวนมาก ทำให้ระยะเวลาในการรวบรวมพยานหลักฐานแต่ละเรื่องมีน้อย
•พยาน หลักฐานที่ชัดแจ้งแสดงถึงการกระทำผิด เช่น ภาพจากกล้องวิดีโอ ภาพถ่าย เทปบันทึกเสียง ฯลฯ มีน้อยไม่เพียงพอต่อการสนับสนุนเจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน
3. วิธีการดำเนินคดีอาญากับผู้กระทำผิด
•กกต.ควรขอความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่นอกพื้นที่เพื่อทำหน้าที่เป็นชุดรับแจ้งเหตุ และจับกุมการกระทำความผิดในช่วงหาเสียงเพิ่มเติมนอกเหนือจากเจ้าหน้าที่ในพื้นที่
•การสืบสวนอาจต้องใช้อาสาสมัครในการเก็บข้อมูลอย่างลับ ๆ และใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ เช่น กล้องวิดีโอ mp3 ที่บันทึกเสียงได้ เป็นต้น เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดี
•การสอบสวน เจ้าหน้าที่ควรต้องสอบให้ถึงวัตถุประสงค์หรือมูลเหตุจูงใจในการกระทำผิดกฎหมายการเลือกตั้งอย่างชัดเจน เช่น การจัดเลี้ยง การบริจาคเงินหรือสิ่งของ โดยอ้างว่าเป็นไปตามวาระแห่งประเพณีนั้น ผู้ถูกกล่าวหาได้จัดงานหรือบริจาคเงินหรือสิ่งของเช่นนี้เรื่อยมาเป็นปกติ หรือไม่
•การตั้งคำถาม และการสอบสวน ควรต้องให้ผู้ถูกกล่าวหานำพยานหลักฐานมาพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนเอง
•การสอบสวนผู้ถูกกล่าวหา ควรมีการบันทึกเทปวิดีโอไว้ด้วย เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในศาลที่แสดงถึงพฤติการณ์ของจำเลย เพื่อเพิ่มน้ำหนัก และความน่าเชื่อถือให้มากขึ้น ทั้งทำให้การกลับคำให้การทำได้ยากขึ้น
•กกต.ควรกำหนดแนวทางและวิธีปฏิบัติในการตรวจสอบบัญชีค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้ง ให้ถูกต้องและเคร่งครัดยิ่งขึ้น เพื่อป้องกันการใช้เงินในการเลือกตั้งมากเกินสมควร ซึ่งเป็นการเอาเปรียบผู้สมัครรายอื่น รวมทั้งจัดให้มีการฝึกอบรมแก่เจ้าหน้าที่ของ กกต.อย่างทั่วถึงและเพียงพอ
อุดมการณ์ของเจ้าหน้าที่ กกต.
•กกต.เป็นหัวใจที่จะประกันให้การเลือกตั้งบริสุทธิ์ยุติธรรม
•เจ้าหน้าที่ กกต.จึงต้องเป็นกลาง มีเหตุผล และเป็นธรรม
•การทำงานของ กกต.จึงเป็นการทำงานเพื่อชาติ เพื่อประชาชน
•ไม่ใช่เพื่อคนกลุ่มใด กลุ่มหนึ่ง
กฎหมายพรรคการเมือง
1) การจัดองค์กรของพรรคการเมือง
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดองค์กรภายของพรรคการเมืองดังต่อไปนี้
- คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินกิจการของพรรคการเมืองให้เป็นไปตามนโยบาย ข้อบังคับและมติของที่ประชุมใหญ่ของพรรค (มาตรา20)
- คณะกรรมการบริหารพรรคประกอบด้วย หัวหน้าพรรคการเมือง รองหัวหน้าพรรคการเมือง เลขาธิการพรรคการเมือง รองเลขาธิการพรรคการเมือง เหรัญญิกพรรคการเมือง โฆษกพรรคการเมืองและคณะกรรมการบริหารอื่นๆ ซึ่งเลือกตั้งจากสมาชิกซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ (มาตรา12)
2) การรวมและการยุบพรรคการเมืองเจตนารมณ์ของกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูปการเมืองนั้นต้องการส่งเสริมเสถียรภาพของพรรคการเมืองและต้องการให้ระบบการเมืองไทยมีพรรคการเมืองที่เข้มแข็งเพียงน้อยพรรค ดังนั้นพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฉบับปี พ.ศ. 2541 จึงวางหลักเกณฑ์เงื่อนไขส่งเสริมให้พรรคการเมืองขนาดเล็กยุบพรรคหรือรวมพรรคเพื่อให้เกิดพรรคการเมืองที่มีขนาดใหญ่ขึ้น
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฉบับปี พ.ศ. 2541 ได้วางหลักเกณฑ์ในการรวมพรรคไว้ดังนี้
2.1 การรวมพรรคการเมือง
2.1.1 การรวมพรรคการเมืองเพื่อจัดตั้งเป็นพรรคการเมืองใหม่ กฎหมายได้วางหลักเกณฑ์ไว้ดังนี้ (มาตรา 70)
1) ในกรณีที่เป็นการรวมพรรคเพื่อจัดตั้งเป็นพรรคการเมืองใหม่นั้น พรรคที่จะรวมกัน
จะต้องขอความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่ของแต่ละพรรค
2) เมื่อที่ประชุมใหญ่ของแต่ละพรรคเห็นชอบแล้ว ให้หัวหน้าพรรคและกรรมการบริหาร
พรรคจำนวนพรรคละ 10 คน ประชุมร่วมกันเพื่อกำหนดนโยบายพรรคการเมืองและข้อบังคับพรรคการเมือง
3) เมื่อได้ดำเนินการดังกล่าวแล้ว ก็ให้มีการจัดประชุมร่วมกันระหว่างสมาชิกของทุกพรรคการเมืองที่จะรวมกัน เพื่อประชุมจัดตั้งพรรคการเมือง การเรียกประชุมจัดตั้งพรรคต้องแจ้งให้สมาชิกของพรรคทราบก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน
4) เมื่อนายทะเบียนจดแจ้งการตั้งพรรคการเมืองแล้ว นายทะเบียนต้องดำเนินการตามมาตรา 62 วรรค 2 เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้พรรคการเมืองที่รวมเข้ากันเป็นอันยุบไป และให้ ส.ส. ที่สังกัดพรรคการเมืองเดิมเป็น ส.ส. ที่สังกัดพรรคการเมืองใหม่
2.1.2 การรวมพรรคการเมืองเข้าเป็นพรรคเดียวกับอีกพรรคการเมืองที่เป็นหลัก
การรวมพรรคการเมืองเข้าเป็นพรรคเดียวกับอีกพรรคการเมืองที่เป็นหลัก กฎหมายได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ดังนี้
1) ในกรณีที่การรวมพรรคการเมืองเป็นการรวมพรรคหนึ่งหรือหลายพรรคการเมือง เข้าเป็นพรรคการเมืองกับอีกพรรคการเมืองที่เป็นหลัก พรรคการเมืองที่จะรวมกัน ต้องขอความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่ของแต่ละพรรค
2) เมื่อที่ประชุมใหญ่ของพรรคเห็นชอบให้รวมกันแล้ว หัวหน้าพรรคการเมืองที่จะรวมตัวกันทุกพรรคต้องแจ้งการรวมพรรคต่อนายทะเบียน และให้นายทะเบียนดำเนินการตามมาตรา 62 วรรค 2 คือยื่นร่วมต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ความปรากฏต่อนายทะเบัยน เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้พรรคการเมืองที่รวมเข้ากับอีกพรรคการเมืองที่เป็นหลักนั้นยุบไป นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง
2.2 การเลิกและการยุบพรรคการเมือง
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฉบับปี พ.ศ. 2541ได้กำหนดไว้ว่าพรรคการเมืองย่อมเลิกหรือยุบด้วยสาเหตุดังต่อไปนี้ (มาตรา 65)
1) มีเหตุต้องเลิกตามข้อบังคับพรรคการเมือง
2) มีจำนวนสมาชิกเหลือไม่ถึง 15 คน
3) มีการยุบพรรคการเมืองไปรวมกับพรรคการเมืองอื่น
4) มีคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคการเมือง
5) ไม่ดำเนินการตามกฎหมาย อาทิเช่น องค์ประกอบของที่ประชุมใหญ่ของพรรคการเมืองไม่ครบ หรือไม่สามารถหาสมาชิกได้อย่างน้อย 5,000 คนภายใน 180 วันนับแต่วันที่นายทะเบียนรับจดแจ้งจัดตั้งพรรคการเมือง
3) ระบบเงินสนับสนุนพรรคการเมืองระบบเงินอุดหนุนพรรคการเมืองโดยทั่วไปแบ่งเป็น 2 ระบบคือ ระบบเงินอุดหนุนจากเอกชน (Private Financing) และระบบเงินอุดหนุนจากรัฐ(Public Financing) (สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ : 270)
3.1 ระบบเงินอุดหนุนจากเอกชน (Private Financing) หมายถึงการได้มาซึ่งรายรับของพรรคการเมืองจากผู้สนับสนุนทางการเมืองซึ่งอาจเป็นบุคคลธรรมดาหรือองค์กรทางธุรกิจหรือองค์กรอื่นๆ
การบริจาคเงินเพื่อให้พรรคการเมืองนำไปดำเนินการตามนโยบายของพรรคการเมืองนั้นต้องดำเนินไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ดังนี้
“ห้ามมิให้พรรคการเมือง หรือสมาชิกผู้ใดรับเงินทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดจากผู้ใด เพื่อสนับสนุนการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักร ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดินหรือกระทำอันเป็นการทำลายทรัพยากรของประเทศหรือเป็นการบั่นทอนสุขภาพอนามัยของประชาชน”(มาตรา 52)
นอกจากนี้กฎหมายพรรคการเมืองห้ามมิให้พรรคการเมือง หรือสมาชิกผู้ใดรับเงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดเพื่อดำเนินกิจการของพรรคการเมืองหรือดำเนินกิจการทางการเมืองจากบุคคลหรือองค์กรดังต่อไปนี้ (มาตรา 53)
(1) บุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทย
(2) นิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจหรือกิจการหรือจดทะเบียนสาขาอยู่
ในหรือนอกอาณาจักร
(3) นิติบุคคลที่จดทะเบียนในราชอาณาจักร ซึ่งบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยมีทุนหรือเป็นผู้ถือ
หุ้นเกินร้อยละยี่สิบห้า
(4) องค์กรหรือนิติบุคคลที่ได้รับทุนหรือได้รับเงินอุดหนุนจากต่างประเทศซึ่งมี
วัตถุประสงค์ดำเนินกิจการเพื่อผลประโยชน์ของบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทย หรือมีผู้จัดการ
หรือกรรมการเป็นบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทย
(5) บุคคล องค์กร หรือนิติบุคคลตามที่ได้รับเงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดเพื่อดำเนิน
กิจการของพรรคการเมืองหรือเพื่อดำเนินกิจการในทางการเมืองจากบุคคลองค์การหรือ
นิติบุคคลตาม (1) (2) (3) (4)
(6) บุคคล องค์การหรือนิติบุคคลตามที่กำหนดในประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ทั้งนี้ การห้ามพรรคการเมืองรับเงินสนับสนุนจากบุคคลหรือองค์การดังกล่าวก็เพื่อป้องกันไม่ให้พรรคการเมืองถูกแทรกแซงหรือครอบงำจากบุคคลหรือองค์กรจากต่างชาติ นอกจากนี้เพื่อให้การดำเนินงานของพรรคการเมืองเป็นไปด้วยความโปร่งใสและตรวจสอบได้ กฎหมายจึงได้กำหนดให้หัวหน้าพรรค กรรมการบริหารพรรคและกรรมการสาขาพรรคการเมืองมีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู้สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (มาตรา 42)
3.2 ระบบเงินอุดหนุนจากรัฐ เนื่องจากพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฉบับปี พ.ศ. 2541 ระบุว่า รัฐจะต้องสนับสนุนการดำเนินงานของพรรคการเมืองโดยการให้เงินอุดหนุนแก่พรรคการเมืองตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อต้องการให้พรรคการเมืองปลอดจากอิทธิพลครอบงำจากกลุ่มทุนหรือองค์กรที่สนับสนุนอยู่
กฎหมายหลักที่ใช้ปกครองประเทศ
กฎหมายรัฐธรรมนูญ
เป็นที่ทราบกันดีว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญนับเป็นกฎหมายที่สำคัญยิ่ง ในฐานะที่เป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ และยังเป็นรากฐานที่มาของกฎหมายอื่นอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปี 2540 ไทยเริ่มมีการปฏิรูปการเมือง จนมีรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนประกาศใช้บังคับ ซึ่งจัดว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการร่างมาตั้งแต่ต้น ดังนั้นเนื้อหาส่วนใหญ่ในเอกสารชุดนี้ จึงมุ่งเน้นในการศึกษาเนื้อหาสาระในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 เป็นหลัก
เป็นที่ทราบกันดีว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญนับเป็นกฎหมายที่สำคัญยิ่ง ในฐานะที่เป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ และยังเป็นรากฐานที่มาของกฎหมายอื่นอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปี 2540 ไทยเริ่มมีการปฏิรูปการเมือง จนมีรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนประกาศใช้บังคับ ซึ่งจัดว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการร่างมาตั้งแต่ต้น ดังนั้นเนื้อหาส่วนใหญ่ในเอกสารชุดนี้ จึงมุ่งเน้นในการศึกษาเนื้อหาสาระในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 เป็นหลัก
หลักทั่วไป
หมายถึง กฎเกณฑ์ที่กำหนดสถานะและความสัมพันธ์ ขององค์กรที่ใช้อำนาจสูงสุดต่อกันหรือต่อประชาชนและกฎเกณฑ์อื่น ซึ่งบรรจุอยู่ในรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร ที่มีการจัดทำและแก้ไขเพิ่มเติมแตกต่างจากกฎหมายธรรมดา(เน้นที่รูปแบบที่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษร)
เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
คำปรารภในรัฐธรรมนูญข้อความตอนท้ายของย่อหน้าที่ 2 มีความว่า “…สภาร่างรัฐธรรมนูญได้จัดทำร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีสาระสำคัญ เป็นการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ใหประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ เพิ่มขึ้น ตลอดทั้งปรับปรุงโครงสร้างทางการเมือง ให้มีเสรีภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทั้งนี้โดยได้คำนึงถึงความคิดเห็นของประชาชนเป็นสำคัญ…”
คำปรารภเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็น เจตนารมณ์ของรัฐธรมนูญ ซึ่งจะช่วยในการตีความรัฐธรรมนูญในภาพรวมทั้งหมด ตั้งแต่มาตรา 1-336 อย่าตีความรัฐธรรมนูญสวนเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ
สรุป เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญในภาพรวม
๑.ทำการเมืองให้เป็นการเมืองของพลเมือง โดยขยายสิทธิ เสรีภาพ เสมอภาค และการมีส่วนร่วม
๒.ขจัดการทุจริตทุกประเภท
๓.ทำให้รัฐบาลมีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ
เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
คำปรารภในรัฐธรรมนูญข้อความตอนท้ายของย่อหน้าที่ 2 มีความว่า “…สภาร่างรัฐธรรมนูญได้จัดทำร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีสาระสำคัญ เป็นการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ใหประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ เพิ่มขึ้น ตลอดทั้งปรับปรุงโครงสร้างทางการเมือง ให้มีเสรีภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทั้งนี้โดยได้คำนึงถึงความคิดเห็นของประชาชนเป็นสำคัญ…”
คำปรารภเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็น เจตนารมณ์ของรัฐธรมนูญ ซึ่งจะช่วยในการตีความรัฐธรรมนูญในภาพรวมทั้งหมด ตั้งแต่มาตรา 1-336 อย่าตีความรัฐธรรมนูญสวนเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ
สรุป เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญในภาพรวม
๑.ทำการเมืองให้เป็นการเมืองของพลเมือง โดยขยายสิทธิ เสรีภาพ เสมอภาค และการมีส่วนร่วม
๒.ขจัดการทุจริตทุกประเภท
๓.ทำให้รัฐบาลมีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
พรบ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534- ปัจจุบัน
มีผลบังคับใช้ในวันถัดไปหลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา ประกาศเมื่อวันที่ 4 ก.ย. 2534
แก้ไขมาแล้ว 6 ฉบับ จนถึงปัจจุบัน
ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
ให้จัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินดังนี้ 1. ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง 2. ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค 3. ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
การบริหารราชการส่วนกลาง ประกอบไปด้วย สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการอื่นที่ไม่สังกัด
การจัดตั้ง การรวม หรือการโอนส่วนราชการ ให้ตราเป็น พรบ. แต่ถ้าไม่การกำหนดตำแหน่งข้าราชการหรือลูกจ้างเพิ่มให้ตราเป็น พรฎ.
ให้คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและสำนักงบประมาณ มีหน้าที่ตรวจสอบดูแลมิให้กำหนดตำแหน่งข้าราชการลูกจ้างขึ้นใหม่ จนกว่าจะครบกำหนด 3 ปี นับจากวันที่ พรฎ.มีผลบังคับใช้
การยุบส่วนราชการตราเป็น พรฎ.
การรับโอนข้าราชการให้กระทำได้ภายใน 30 วัน นับจาก พรฎ. บังคับใช้
สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี ให้แก้ไขเป็นสำนักงานรัฐมนตรี
สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทางการเมือง มีเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชา ให้เลขาธิการและรองเลขาธิการฝ่ายการเมือง เป็นข้าราชการการเมือง และให้รองเลขาธิการนายกฝ่ายบริหาร และผู้ช่วยเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นข้าราชการฝ่ายพลเรือน
เลขาธิการคณะรัฐมนตรี รองเลขาฯคณะรัฐมนตรี และผู้ช่วยเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญรวมถึงปลัดสำนักนายก รองปลัดสำนักนายก และผู้ช่วยปลัดสำนักนายก
เลขานุการรัฐมนตรีเป็นข้าราชการการเมือง
เลขาธิการคณะรัฐมนตรี มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารของคณะรัฐมนตรีและราชการในพระองค์
ก่อนคณะรัฐมนตรีจะให้ความเห็นชอบในร่าง พรฎ. จัดตั้งส่วนราชการ ให้นายกรัฐมนตรีส่งร่าง พรฎ. ต่อสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา เพื่อทราบ
การปฏิบัติราชการแทน ให้มีการมอบอำนาจเป็นหนังสือ การมอบอำนาจให้ผู้ว่า เป็นการยกเว้น สามารถกระทำได้ทุกกรณีแทนทุกคน
เมื่อมีการมอบอำนาจแล้วผู้รับมอบอำนาจนั้นจะมอบอำนาจนั้นให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นมิได้ เว้นแต่มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายต่อ
นายกจะมอบหมายให้รองนายกปฏิบัติราชการแทนในส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อนายกได้
การรักษาราชการแทน ให้กระทำได้เมื่อเจ้าของเรื่องไม่อยู่และไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
การบริหารราชการในต่างประเทศ คณะผู้แทน คือข้าราชการ ทหารประจำการในต่างประเทศ ณ สถานเอกอัคราชทูต กงสุล หรือส่วนราชการในต่างประเทศ
การสั่ง และการปฏิบัติราชการของกระทรวง ทบวง กรม ต่อบุคคลในคณะผู้แมนให้เป็นไปตามระเบียบคณะรัฐมนตรีกำหนด
กรมหนึ่งมีอธิบดีคนหนึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา รับผิดชอบการปฏิบัติราชการของกรมโดยการใช้อำนาจให้คำนึงถึงนโยบายคณะรัฐมนตรี
การบริหารส่วนกลาง เป็นการบริหารแบบรวมอำนาจ
การบริหารราชการส่วนภูมิภาค ประกอบไปด้วย จังหวัด และอำเภอ
การตั้งยุบ เปลี่ยนแปลง เขตจังหวัดให้ตราเป็น พรบ. มีฐานะเป็นนิติบุคคล
ในจังหวัดหนึ่งๆ ให้มีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้รับนโยบายจากนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มาปฏิบัติให้เหมาะสมกับพื้นที่
การยกเว้น จำกัด ตัดตอนอำนาจของผู้ว่าให้ตราเป็น พรบ.
คณะกรรมการจังหวัด ประกอบไปด้วยผู้ว่า เป็นประธาน / รองผู้ว่า ปลัดจังหวัด ผู้บังคับบัญชาตำรวจจังหวัด อัยการจังหวัด และหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดอื่นๆ เป็นคณะกรรมการ / ให้หัวหน้าสำนักงานจังหวัด เป็นเลขานุการ และกรรมการ
การยุบ และการเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอให้ตราเป็น พรฎ. ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล ให้มีนายอำเภอเป็นผู้บังคับบัญชา
การบริหารราชการส่วนภูมิภาค เป็นการบริหารแบบแบ่งอำนาจ
การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย อบจ. เทศบาล อบต. และราชการอื่นที่กำหนด สุขาภิบาลได้ยกฐานะเปลี่ยนเป็นเทศบาล ปัจจุบันไม่มีสุขาภิบาล
คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ(ก.พ.ร.) มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน รัฐมนตรี 1 คน ที่ได้รับมอบหมายเป็นรองประธาน บุคคลที่คณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอีก 1 คน ผู้ทรงคุณวุฒิอีก 10 คน รวมทั้งสิ้น 13 คน
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 3 คน ต้องทำงานเต็มเวลา ให้จ่ายเงินตาม พรฎ.
เลขาธิการ กพร. เป็นกรรมการและเลขาธิการโดยตำแหน่ง เป็นข้าราชการพลเรือน
กรรมการมีวาระ 4 ปี เป็นได้ไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน ถ้าตำแหน่งว่างลงให้แต่งตั้งภายใน 30 วัน
สำนักงาน ก.พ.ร.เป็นส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี ไม่มีฐานะเป็นกรม ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เป็นการบริหารแบบกระจายอำนาจ
พรฎ. แบ่งส่วนราชการภายในกระทรวง ทบวง กรม ให้แก้ไขให้เสร็จภายใน 2 ปี
มีผลบังคับใช้ในวันถัดไปหลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา ประกาศเมื่อวันที่ 4 ก.ย. 2534
แก้ไขมาแล้ว 6 ฉบับ จนถึงปัจจุบัน
ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
ให้จัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินดังนี้ 1. ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง 2. ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค 3. ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
การบริหารราชการส่วนกลาง ประกอบไปด้วย สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการอื่นที่ไม่สังกัด
การจัดตั้ง การรวม หรือการโอนส่วนราชการ ให้ตราเป็น พรบ. แต่ถ้าไม่การกำหนดตำแหน่งข้าราชการหรือลูกจ้างเพิ่มให้ตราเป็น พรฎ.
ให้คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและสำนักงบประมาณ มีหน้าที่ตรวจสอบดูแลมิให้กำหนดตำแหน่งข้าราชการลูกจ้างขึ้นใหม่ จนกว่าจะครบกำหนด 3 ปี นับจากวันที่ พรฎ.มีผลบังคับใช้
การยุบส่วนราชการตราเป็น พรฎ.
การรับโอนข้าราชการให้กระทำได้ภายใน 30 วัน นับจาก พรฎ. บังคับใช้
สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี ให้แก้ไขเป็นสำนักงานรัฐมนตรี
สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทางการเมือง มีเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชา ให้เลขาธิการและรองเลขาธิการฝ่ายการเมือง เป็นข้าราชการการเมือง และให้รองเลขาธิการนายกฝ่ายบริหาร และผู้ช่วยเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นข้าราชการฝ่ายพลเรือน
เลขาธิการคณะรัฐมนตรี รองเลขาฯคณะรัฐมนตรี และผู้ช่วยเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญรวมถึงปลัดสำนักนายก รองปลัดสำนักนายก และผู้ช่วยปลัดสำนักนายก
เลขานุการรัฐมนตรีเป็นข้าราชการการเมือง
เลขาธิการคณะรัฐมนตรี มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารของคณะรัฐมนตรีและราชการในพระองค์
ก่อนคณะรัฐมนตรีจะให้ความเห็นชอบในร่าง พรฎ. จัดตั้งส่วนราชการ ให้นายกรัฐมนตรีส่งร่าง พรฎ. ต่อสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา เพื่อทราบ
การปฏิบัติราชการแทน ให้มีการมอบอำนาจเป็นหนังสือ การมอบอำนาจให้ผู้ว่า เป็นการยกเว้น สามารถกระทำได้ทุกกรณีแทนทุกคน
เมื่อมีการมอบอำนาจแล้วผู้รับมอบอำนาจนั้นจะมอบอำนาจนั้นให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นมิได้ เว้นแต่มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายต่อ
นายกจะมอบหมายให้รองนายกปฏิบัติราชการแทนในส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อนายก
การรักษาราชการแทน
การบริหารราชการในต่างประเทศ คณะผู้แทน คือข้าราชการ ทหารประจำการในต่างประเทศ ณ สถานเอกอัคราชทูต กงสุล หรือส่วนราชการในต่างประเทศ
การสั่ง และการปฏิบัติราชการของกระทรวง ทบวง กรม ต่อบุคคลในคณะผู้แมนให้เป็นไปตามระเบียบคณะรัฐมนตรีกำหนด
กรมหนึ่งมีอธิบดีคนหนึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา รับผิดชอบการปฏิบัติราชการของกรมโดยการใช้อำนาจให้คำนึงถึงนโยบายคณะรัฐมนตรี
การบริหารส่วนกลาง เป็นการบริหารแบบรวมอำนาจ
การบริหารราชการส่วนภูมิภาค ประกอบไปด้วย จังหวัด และอำเภอ
การตั้งยุบ เปลี่ยนแปลง เขตจังหวัดให้ตราเป็น พรบ. มีฐานะเป็นนิติบุคคล
ในจังหวัดหนึ่งๆ ให้มีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้รับนโยบายจากนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มาปฏิบัติให้เหมาะสมกับพื้นที่
การยกเว้น จำกัด ตัดตอนอำนาจของผู้ว่าให้ตราเป็น พรบ.
คณะกรรมการจังหวัด ประกอบไปด้วยผู้ว่า เป็นประธาน / รองผู้ว่า ปลัดจังหวัด ผู้บังคับบัญชาตำรวจจังหวัด อัยการจังหวัด และหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดอื่นๆ เป็นคณะกรรมการ / ให้หัวหน้าสำนักงานจังหวัด เป็นเลขานุการ และกรรมการ
การยุบ และการเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอให้ตราเป็น พรฎ. ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล ให้มีนายอำเภอเป็นผู้บังคับบัญชา
การบริหารราชการส่วนภูมิภาค เป็นการบริหารแบบแบ่งอำนาจ
การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย อบจ. เทศบาล อบต. และราชการอื่นที่กำหนด สุขาภิบาลได้ยกฐานะเปลี่ยนเป็นเทศบาล ปัจจุบันไม่มีสุขาภิบาล
คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ(ก.พ.ร.) มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน รัฐมนตรี 1 คน ที่ได้รับมอบหมายเป็นรองประธาน บุคคลที่คณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอีก 1 คน ผู้ทรงคุณวุฒิอีก 10 คน รวมทั้งสิ้น 13 คน
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 3 คน ต้องทำงานเต็มเวลา ให้จ่ายเงินตาม พรฎ.
เลขาธิการ กพร. เป็นกรรมการและเลขาธิการโดยตำแหน่ง เป็นข้าราชการพลเรือน
กรรมการมีวาระ 4 ปี เป็นได้ไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน ถ้าตำแหน่งว่างลงให้แต่งตั้งภายใน 30 วัน
สำนักงาน ก.พ.ร.เป็นส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี ไม่มีฐานะเป็นกรม ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เป็นการบริหารแบบกระจายอำนาจ
พรฎ. แบ่งส่วนราชการภายในกระทรวง ทบวง กรม ให้แก้ไขให้เสร็จภายใน 2 ปี
ปัญหาการใช้กฎหมาย ความจำเป็นที่จะต้องรู้และปฏิบัติตนตามกฎหมาย
1. ความไม่รู้กฎหมายเพียงพอของเจ้าพนักงานของรัฐ
การทำงานของเจ้าพนักงานมักจะใช้การเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ตนได้พบเจออยู่ เป็นประจำ แต่ในบางครั้งเรื่องที่ได้รับแจ้งมานั้นอาจเป็นเรื่องที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย ครั้งนัก จึงยากที่จะใช้กฎหมายถ้าไม่รู้จักวิธีการอ่านกฎหมาย ศึกษากฎหมาย และแปลความกฎหมายเพื่อปรับใช้ในคดีความที่เกิดขึ้น อีกประการหนึ่ง เนื่องจากพนักงานตำรวจมีหน้าที่รักษากฎหมายทั่วไป ผิดกับเจ้าพนักงานอื่นๆที่มีหน้าที่ให้รักษาการเฉพาะเรื่องที่กฎหมายกำหนด ซึ่งมีความชำนาญในเรื่องนั้นโดยเฉพาะ เพราะบทกฎหมายที่รักษาการนั้นมีอย่างจำกัด การที่จะให้ความรู้แก่เจ้าพนักงานตำรวจเพิ่มขึ้นจึงเป็นเรื่องจำเป็น เพื่อให้รู้ถึงกฎหมายต่างๆอย่างกว้างขวาง และรู้ถึงวิธีการและเทคนิคการใช้กฎหมาย จึงจะปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างถูกต้องเป็นธรรม
2.การใช้ดุลพินิจอันไม่สมควรในการปฏิบัติหน้าที่
การใช้ดุลพินิจนั้นอาจมีหลายระดับตั้งแต่ในชั้นการสอบสวน การสั่งฟ้องคดีอัยการ การพิพากษาคดี หรือการออกคำสั่งคำร้องของผู้พิพากษา ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นการใช้ดุลพินิจที่กฎหมายเปิดโอกาสให้ใช้เพื่อความ ยุติธรรมในแต่ละขั้นตอนตามควรแก่กรณีทั้งสิ้น ในการใช้ดุลพินิจของพนักรัฐนั้น โดยมากมักมีการกำหนดแนวทางปฏิบัติไว้ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะมาจากนโยบายของหน่วยงาน และการปฏิบัติที่สืบต่อกันมา หากการใช้ดุลพินิจของเจ้าพนักงานเป็นไปอย่างไม่เที่ยงธรรม การการละเว้นหรือให้อภิสิทธิ์แก่บุคคลบางกลุ่มก็ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม แก่บุคคลบางกลุ่มขึ้น ซึ่งการใช้ดุลพินิจดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่ต้องแก้ไข เพื่อลดปัญหาที่เกิดขึ้นจากเจ้าพนักงาน มิฉะนั้นแล้วประชาชนจะรู้สึกเกลียดชังเจ้าพนักงานของรัฐ และรัฐก็จะไม่ได้รับความร่วมมือในการปฏิบัติตามกฎหมายจากประชาชน
การทำงานของเจ้าพนักงานมักจะใช้การเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ตนได้พบเจออยู่ เป็นประจำ แต่ในบางครั้งเรื่องที่ได้รับแจ้งมานั้นอาจเป็นเรื่องที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย ครั้งนัก จึงยากที่จะใช้กฎหมายถ้าไม่รู้จักวิธีการอ่านกฎหมาย ศึกษากฎหมาย และแปลความกฎหมายเพื่อปรับใช้ในคดีความที่เกิดขึ้น อีกประการหนึ่ง เนื่องจากพนักงานตำรวจมีหน้าที่รักษากฎหมายทั่วไป ผิดกับเจ้าพนักงานอื่นๆที่มีหน้าที่ให้รักษาการเฉพาะเรื่องที่กฎหมายกำหนด ซึ่งมีความชำนาญในเรื่องนั้นโดยเฉพาะ เพราะบทกฎหมายที่รักษาการนั้นมีอย่างจำกัด การที่จะให้ความรู้แก่เจ้าพนักงานตำรวจเพิ่มขึ้นจึงเป็นเรื่องจำเป็น เพื่อให้รู้ถึงกฎหมายต่างๆอย่างกว้างขวาง และรู้ถึงวิธีการและเทคนิคการใช้กฎหมาย จึงจะปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างถูกต้องเป็นธรรม
2.การใช้ดุลพินิจอันไม่สมควรในการปฏิบัติหน้าที่
การใช้ดุลพินิจนั้นอาจมีหลายระดับตั้งแต่ในชั้นการสอบสวน การสั่งฟ้องคดีอัยการ การพิพากษาคดี หรือการออกคำสั่งคำร้องของผู้พิพากษา ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นการใช้ดุลพินิจที่กฎหมายเปิดโอกาสให้ใช้เพื่อความ ยุติธรรมในแต่ละขั้นตอนตามควรแก่กรณีทั้งสิ้น ในการใช้ดุลพินิจของพนักรัฐนั้น โดยมากมักมีการกำหนดแนวทางปฏิบัติไว้ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะมาจากนโยบายของหน่วยงาน และการปฏิบัติที่สืบต่อกันมา หากการใช้ดุลพินิจของเจ้าพนักงานเป็นไปอย่างไม่เที่ยงธรรม การการละเว้นหรือให้อภิสิทธิ์แก่บุคคลบางกลุ่มก็ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม แก่บุคคลบางกลุ่มขึ้น ซึ่งการใช้ดุลพินิจดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่ต้องแก้ไข เพื่อลดปัญหาที่เกิดขึ้นจากเจ้าพนักงาน มิฉะนั้นแล้วประชาชนจะรู้สึกเกลียดชังเจ้าพนักงานของรัฐ และรัฐก็จะไม่ได้รับความร่วมมือในการปฏิบัติตามกฎหมายจากประชาชน
การปฏิบัติตามกฎหมาย
บุคคลมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งรัฐธรรมนูญได้ระบุไว้กว้าง ๆ แต่มีความหมายครอบคลุมกฎหมายทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นกฎหมายเอกชน มหาชน หรือกฎหมายระหว่างประเทศรวมทั้งกฎหมายระดับต่าง ๆ เช่น พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง เป็นต้น เมื่อเราต้องเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับกฎหมายใด ก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายนั้นๆ อย่างเคร่งครัด เพราะกฎหมายแต่ละฉบับนั้นได้มีการร่างและประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาอย่างเปิดเผยต่อสาธารณชน จึงเป็นหน้าที่ของชาวไทยทุกคนที่จะต้องศึกษาและทำความเข้าใจเรื่องกฎหมายเพื่อไม่ให้เสียเปรียบหรือได้รับโทษโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
บุคคลมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งรัฐธรรมนูญได้ระบุไว้กว้าง ๆ แต่มีความหมายครอบคลุมกฎหมายทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นกฎหมายเอกชน มหาชน หรือกฎหมายระหว่างประเทศรวมทั้งกฎหมายระดับต่าง ๆ เช่น พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง เป็นต้น เมื่อเราต้องเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับกฎหมายใด ก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายนั้นๆ อย่างเคร่งครัด เพราะกฎหมายแต่ละฉบับนั้นได้มีการร่างและประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาอย่างเปิดเผยต่อสาธารณชน จึงเป็นหน้าที่ของชาวไทยทุกคนที่จะต้องศึกษาและทำความเข้าใจเรื่องกฎหมายเพื่อไม่ให้เสียเปรียบหรือได้รับโทษโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
การไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง การใช้สิทธิเลือกตั้งมีทั้งในประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย คือ ระบอบการ ปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน ที่ถือเสียงข้างมากเป็นสำคัญแต่ก็เคารพสิทธิเสรีภาพของเสียงข้างน้อย ในระบอบประชาธิปไตยจึงมีการเลือกตั้งผู้แทนไปปฏิบัติหน้าที่แทนประชาชน ซึ่งอาจจะเป็นการเลือกผู้แทนเข้าไปเป็นสมาชิก สภานิติบัญญัติ หรืออาจเป็นการเลือกผู้แทนไปเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารโดยตรงก็ได้ แล้วแต่รูปแบบการปกครองของแต่ละประเทศ ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ การเลือกตั้งจึงถือเป็นกิจกรรมที่จำเป็นอย่างหนึ่งในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย การได้มีโอกาสใช้สิทธิในการเลือกตั้งจึงเป็นความภาคภูมิใจของประชาชนที่อยู่ในประเทศประชาธิปไตย การมีส่วนร่วมของประชาชนที่สำคัญคือ การเลือกตั้ง ดังนั้น ประชาชนควรภาคภูมิใจที่จะไปใช้สิทธิเลือกตั้งโดยเสรี ดังนั้นการเลือกตั้งจึงเป็นหน้าที่ที่สำคัญของคนไทย บุคคลใดที่ไม่ไปเลือกตั้งโดยไม่แจ้งเหตุอันสมควรที่ทำให้ไม่อาจไปเลือกตั้งได้ย่อมเสียสิทธิตามกฎหมาย
สังเกต คำว่า “กฎหมายรัฐธรรมนูญ” เป็นชื่อวิชาที่ศึกษารัฐธรรมนูญ (Constitution Law) หมายถึง กฎเกณฑ์ที่กำหนดสถานะและความสัมพันธ์ขององค์กรที่ใช้อำนาจสูงสุดต่อกันหรือต่อประชาชน (เน้นที่เนื้อหาสาระของกฎหมาย ครอบคลุมไปถึงรูปแบบของรัฐ,องค์กรที่ใช้อำนาจ ตลอดจนสิทธิเสรีภาพ)
ความหมายอย่างแคบ