ประเทศไทย
General Situation at at 16:00
The moderate northeast monsoon prevails over Thailand and the Gulf of Thailand, and the monsoon trough lies across the low cell over the Andaman Sea through the lower South and the lower Gulf. Warmer weather is likely in northern and northeastern Thailand while less rain occurs over the south.
During 14-16 November, another ridge of high pressure from China will cover upper Thailand, and the northeast monsoon grows stronger. A decrease in temperature is expected in the upper part of the country while more rain is forecast in southern east-coast with stronger wind-wave in the Gulf.
Morning mist and isolated light rain. Minimum temperature 24-25 °C. Northeasterly winds 15-30 km/hr.
มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือปานกลาง prevails ทั่วประเทศไทยและอ่าวไทยและท่อน้ำลมมรสุมอยู่ในเซลล์ต่ำกว่าทะเลอันดามันตอนล่างผ่านภาคใต้และอ่าวที่ต่ำกว่า สภาพอากาศอุ่นมีโอกาสในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยในขณะที่ฝนตกน้อยลงมีขึ้นในภาคใต้
ระหว่าง 14-16 พฤศจิกายน, สันอีกหนึ่งของความดันสูงจากประเทศจีนจะครอบคลุมถึงประเทศไทยตอนบนและมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเติบโตแข็งแกร่ง การลดลงของอุณหภูมิคาดว่าในส่วนบนของประเทศมีฝนตกมากขึ้นในขณะที่คาดการณ์ในภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีคลื่นลมแรงในอ่าว
หมอกตอนเช้าและมีฝนแสงแยก อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส ลมทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 15-30 กม. / ชม.
วันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านวม กรมหลวงวงศาธิราชสนิท
(9 กรกฎาคม พ.ศ. 2351 - 14 สิงหาคม พ.ศ. 2414) พระราชโอรสลำดับที่ 49 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ต้นราชสกุลสนิทวงศ์
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านวม กรมหลวงวงศาธิราชสนิท มีนามเดิมว่า พระองค์เจ้าชายนวม [note 1] ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาปรางใหญ่ ธิดาท่านขรัวยายทองอิน เมื่อวันเสาร์ เดือน 8 แรม 2 ค่ำ ปีมะโรง สัมฤทธิศก จ.ศ. 1170 ตรงกับวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2351[1] ทรงได้รับการศึกษาเบื้องต้นตามแบบฉบับของราชสำนักและทรงผนวชเป็นสามเณร ได้รับการศึกษาในสำนักสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส ในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ทรงได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้ด้านอักษรศาสตร์ ทั้งอักขรวิธีภาษาไทย ขอม และมคธ รวมทั้งวรรณคดี วิชาโบราณคดีและราชประเพณี[2]
ต่อมาทรงเข้ารับราชการในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกำกับกรมหมอหลวง และทรงศึกษาวิชาการแพทย์สมัยใหม่จากมิชชันนารีอเมริกัน [1] โปรดเกล้าฯสถาปนาขึ้นเป็น กรมหมื่นวงศาสนิท [3] เมื่อครั้นปี พ.ศ. 2392 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชปรารภ ถึงความเสื่อมโทรมของภาษาไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระองค์เจ้านวม ทรงแต่งตำราภาษาไทยขึ้นใหม่ เพื่ออนุรักษ์ภาษาไทย พระนิพนธ์เรื่อง “จินดามณี เล่ม 2” ซึ่งทรงดัดแปลงจากตำราเดิมสมัยอยุธยา อธิบายหลักเกณฑ์ภาษาไทยให้เข้าใจง่ายกว่าเดิม[2] ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯเลื่อนขึ้นเป็น กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ทรงกำกับราชการมหาดไทย ว่าพระคลังสินค้า และเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ทรงเป็นเจ้านายหนึ่งในสี่พระองค์ ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงหมายจะให้สืบราชบัลลังก์ต่อจากพระองค์ [1]
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท สิ้นพระชนม์ในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อวันพุธ เดือน 10 ขึ้น 6 ค่ำ ปีมะเมียโทศก ตรงกับวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2414 พระชันษา 63 พรรษา พระราชทานเพลิงพระศพ ณ วัดอรุณราชวราราม เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2414 [4]
ในปี พ.ศ. 2550 กระทรวงวัฒนธรรมได้เสนอพระนาม พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ในโครงการเฉลิมฉลองบุคคลสำคัญและเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของยูเนสโก ประจำปี 2551-2552 ในวาระครบรอบ 200 ปีของการประสูติ องค์การยูเนสโกได้มีมติรับรองในการประชุมเมื่อวันที่ 18-23 ตุลาคม 2550 ที่กรุงปารีส [5]
ในวาระแห่งวันคล้ายวันประสูติครบ 200 ปีของพระองค์ องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก (UNESCO) ได้ประกาศยกย่องให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงวงษาธิราชสนิททรงเป็นบุคคลสำคัญของโลกในสาขา
ปราชญ์และกวี (Scholar and Poet) ประจำปี พ.ศ. 2551 - 2552 และเป็นบุคคลที่มีผลงานด้านการศึกษาและวรรณกรรม การแพทย์และการสาธารณสุข และการต่างประเทศ
พระราชกรณียกิจสำคัญที่มีต่อการสร้างสรรค์ชาติไทยสามารถสรุปได้ดังนี้
1. ด้านการเมืองการปกครอง
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิททรงมีความคุ้นเคยกับวัฒนธรรมตะวันตกและชาวตะวันตกเป็นอย่างดี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการฝ่ายไทยร่วมกับกลุ่มขุนนางตระกูลบุนนาคในการเจรจาทำสนธิสัญญากับชาติตะวันตก ที่สำคัญได้แก่ สนธิสัญญาเบาว์ริง ทรงดำเนินนโยบายทางการทูตด้วยความประนีประนอมและผ่อนปรน ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศดำเนินไปด้วยดี
2. ด้านการแพทย์
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิททรงนิพนธ์ "ตำราสรรพคุณยาของกรมหลวงวงษาธิราชสนิท เล่ม 1 และเล่ม 2" นับเป็นตำราสมุนไพรไทยเล่มแรกของไทยที่มีการจำแนกสรรพคุณของสมุนไพรตามแบบวิทยาศาสตร์การแพทย์ตะวันตก ทรงเรียนรู้ในวิชาการแพทย์แผนตะวันตก ทรงเป็นแพทย์ไทยพระองค์แรกที่ได้รับการถวายประกาศนียบัตรและทรงได้รับการทูลเชิญให้เป็นสมาชิกของสถาบันการแพทย์แห่งนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา
3. ด้านวรรณกรรม
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิททรงมีพระปรีชาสามารถในการประพันธ์โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน พระนิพนธ์มีหลากหลายรูปแบบทั้งสาระและการบันเทิง เช่น หนังสือแบบเรียนจินดามณี เล่ม 2 และงานตรวจสอบชำระเรื่องพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เรื่องนิราศพระประธม เพลงยาวสามช
โคลงนิราศพระประธม
พระเจ้าบรมวงศเธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ทรงพระนิพนธ์นิราศนี้ในรัชกาลที่ ๓ เมื่อพระชนม์ ๒๖ พรรษา เวลานั้นยังทรงพระยศเป็นกรมหมื่น เสด็จอยู่วังในคลองตลาด ซึ่งเรียกตามตำนานวังเก่าว่าวังท้ายหับเผยวังที่ ๓ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จย้ายไปอยู่วังริมแม่น้ำเจ้าพระยาใต้วัดพระเชตุพน ซึ่งเป็นวังเดิมของสมเด็จกรมพระยาเดชาดิศร ครั้นถึงรัชกาลที่ ๔ เมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงรับพระราชทานบวรราชาภิเษกเสด็จย้ายจากพระราชวังเดิม (ธนบุรี) เข้าไปประทับในพระราชวังบวรแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้า ฯ ให้กรมหลวงวงษาธิราชสนิทเสด็จย้ายไปอยู่พระราชวังเดิม ได้เสด็จอยู่ที่นั้นต่อมาจนสิ้นพระชนม์
ผู้อ่านโคลงนิราศนี้ ถ้ายังมิได้เห็นมาก่อนแล้ว ก็คงจะเห็นเหมือนกันหมดในบัดนี้ว่า กรมหลวงวงษาธิราชสนิททรงพระปรีชาในเชิงกวีเป็นอันมาก นิราศนี้นับว่าเป็นกาพย์กลอนรุ่นแรกที่ทรงแต่ง ก่อนหน้านั้นคงจะได้ทรงแต่งแต่สั้น ๆ เป็นท่อนเล็กท่อนน้อยมามากแล้ว แต่หากไม่เป็นล่ำเป็นสันจึ่งไม่มีเหลืออยู่ โคลงจินดามณีซึ่งเป็นหนังสือสำคัญอยู่อย่างหนึ่งในกาพย์กลอนไทยนั้น ทรงแต่งภายหลังนิราศนี้ราว ๑๕ ปี
การแต่งนิราศนั้น แต่ก่อนมาไม่ว่าใครแต่ง คงจะเดิรความทำนองเดียวกันแทบทั้งนั้น ขึ้นต้นยอพระเกียรติ์พระเจ้าแผ่นดิน แล้วปรารภไปทางไกล กล่าวละห้อยละเหี่ยเป็นห่วงเมีย บางคนแสดงวิตกว่าเมียอยู่ข้างหลังจะไม่รักษาสัตย์ต่อผัว ที่กล่าวเช่นนั้นถ้าคิดดูตามความเห็นธรรมดาในสมัยนี้ก็ดูเป็นการดูหมิ่นอย่างร้ายแรง แต่อันที่จริงเป็นของซึ่งแต่ก่อนเขาไม่ถือ หรือเป็นของให้อภัยแก่ผู้แต่งนิราศ เพราะการกล่าวเป็นห่วงเมียว่าเกรงชายอื่นจะมาลอบลักเป็นชู้นั้น เป็นวิธีกล่าวยกยอความงามเลิศลอยซึ่งเป็นที่ต้องตาชายทั้งหลาย ใครเห็นก็ต้องอยากได้ เหมือนถ้ากล่าวเป็นห่วงเพ็ชร์ว่ากลัวถูกโขมย ก็หาเป็นการดูหมิ่นเพ็ชรไม่ ที่พูดเช่นนี้ฟังเหมือนหนึ่งหาว่าหญิงไม่ใช่คน แต่ถ้าจะพูดตามทางที่เขาแต่ง หญิงก็ไม่ใช่คนจริง ๆ เขาแต่งประสงค์จะเชิดความงามให้เด่น แลความงามนั้นเป็นคุณนามถึงจะมีในตัวมนุษย์ก็หาใช่มนุษย์ไม่ ตามนัยเช่นนี้อาจกล่าวต่อไปได้อีกชั้นหนึ่งว่า เมียที่กล่าวในนิราศนั้นเป็นของไม่จพเป็นจะต้องมีตัวมีตน เป็นแต่ความคิดเป็นเครื่องนึกขึ้นสำหรับช่วยให้แต่งโคลงไพเราะเท่านั้น เมียจริง ๆ อาจเป็นคนแก่หรือหญิงปราศจากความงาม ซึ่งถ้านึกถึงจริง ๆ ก็ไม่เป็นเครื่องนำปัญญาให้กาพย์กลอนไพเราะเกิดขึ้นได้ บางทีเมื่อเวลาไปจากบ้านนั้นเมียไปด้วย หรือนิราศนั้นแต่งเมื่อกลับถึงบ้านแล้ว หรือแต่งสำเร็จเมื่อกลับถึงบ้านแล้วช้านานก็เป็นได้ ข้าพเจ้าเองก้เคยแต่งโคลงนิราศเมื่อไม่ได้ไปไหนเลย แลในเวลานั้นเมียก็ยังไม่มี ข้อที่ไม่ได้ไปไหนแลไม่มีเมียนั้น หาเป็นเครื่องกีดกั้นไม่ให้แต่งโคลงนิราศไม่ ที่นำมากล่าวเช่นนี้เพื่อจะแสดงว่าเมียในนิราศนั้นเป็นความคิดเท่านั้น ไม่ใช่คนเลย
วิธีแต่งนิราศ เมื่อกล่าวเป็นห่วงเมียแล้ว ถึงตอนเดิรทาง เมื่อไปถึงไหนก็เอาชื่อตำบลนั้น หรือที่นั้นมากล่าวเทียบโยงไปให้ถึงเมียจนได้ ตอนเดิรดงเมื่อกล่าวถึงต้นไม้แลสัตว์ต่าง ๆ ก็เกลือกเอาแต่ต้นไม้แลสัตว์ซึ่งพอจะพูดวกเข้าหาเมียได้อย่างเดียวกัน วิธีแต่งเช่นนี้จะว่ายากก็ไม่ใช่จะว่าง่ายก็ไม่เชิง ที่ว่าไม่ยากนั้นก็เพราะความเปรียบนั้นมักจะนึกได้ในทันที แลไม่จำเป็นจะพูดถึงอะไรที่จะวกเข้าเปรียบกับนางไม่ได้ วิธีเปรียบนั้นเป็นต้นว่านกแก้วหรือต้นแก้วก็เปรียบว่านางคือแก้ว หรือแก้วตาแก้วใจ แล้วเลยใช้แก้วแปลว่า นางทีเดียว ฉะนี้เป็นตัวอย่าง ส่วนที่ว่าไม่ง่ายก็เพราะการเปรียบเช่นนั้นเขาทำกันมามากแล้ว ผู้แต่งใหม่จำจะต้องหลีกเลี่ยงไม่ให้เหมือนของเก่า ต้องให้ดีกว่า หรืออย่างนั้ยก็ไม่ให้เลวกว่า มิฉะนั้นก็ขายหน้า
กรมหลวงวงษาธิราชสนิททรงพระนิพนธ์ก็ทำนองนี้ แต่ไม่ทรงดำเนิรตามรอยทางเก่าที่เอาอย่าง (มักใช้ว่า "ล้อ") กันเป็นทอด ๆ เหมือนนรินทร์อินเอาอย่างศรีปราชญ์ ๆ เอาอย่างคนอื่นต่อขึ้นไปอีก เช่นรำพึงว่าจะฝากนางกับใครดี ฝากพระอินทร์ก็เกรงจะเป็นชู้ ฝากนั่นก็เกรงอย่างนั้น ฝากนี่ก็เกรงอย่างนี้ ในที่สุดก็ฝากนางกับใจนางเอง ดังนี้เป็นต้น กรมหลวงวงษาธิราชสนิททรงระบุชื่อนิราศซึ่งนิยมกันว่าดี คือ กำสรวญทวาทศมาส นิราศของพระพิพิธสาลี (เดิมเป็นพระศรีภูมิปรีชา ผู้แต่งอุเทนคำฉันท์ พระสุธนคำฉันท์ แลสูตรธนูคำฉันท์) นิราศพระยาตรัง แล นิราศนรินทร์ แต่ทรงกล่าวว่า "ไป่ลักเทีบยคำบุราณอื่นอ้าง" ซึ่งความจริงโดยประการที่มิได้ทรงเพ่งเล็งเอาอย่างใครเป็น แต่ทรงเดิรรูปตามแบบนิราศ และถ้าไม่ทรงเช่นนั้นก็ไม่เป็นนิราศ
ในการชำระครั้งนี้ได้ความรู้ใหม่อย่างหนึ่งว่า เมื่อกรมหลวงวงษาธิราชสนิททรงพระนิพนธ์นิราศนี้แล้ว ได้ทรงนำถวายพระอาจารย์ คือ สมเด็นกรมพระปรมานุชิตชิโนรส ให้ทอดพระเนตรแลทรงแก้ไข สมเด็จกรมพระปรมานุชิตทรงอ่านแล้ว จะได้ทรงแก้บ้างหรือไม่ไม่ทราบ ปรากฏแต่ว่าในสมุดไทยตัวดินสอขาวของกรมหลวงวงษาธิราชสนิท (ซึ่งเดี๋ยวนี้อยู่ในหอสมุดวชิรญาณ) นั้น เขียนเป็นตัวบรรจงฝีมืองาม แต่มีรอยขีดฆ่าบรรจงแล้วเขียนตัวหวัดแก้เปลี่ยนไปหลายแห่ง ที่แก้นั้นดีขึ้นกว่าเดิมทุกแห่ง ผู้แก้จะเป็นสมเด็จกรมพระปรมานุชิต หรือกรมหลวงวงษาธิราชสนิทจะทรงเองก็ทราบไม่ได้ ทราบได้แต่ว่า เมื่อสมเด็จกรมพระปรมานุชิตทรงอ่านตลอดแล้ว ก็ทรงโคลงเติมลงข้างท้ายว่า
๏ กรมวงษาสนิทผู้ ปรีชา เชี่ยวแฮ
เรียบรจเรขกถา เพราะพร้อง
เนืองเนกคณเมธา ทุกทั่ว อ่านเอย
ควรจักยอยศซร้อง แซ่ซั้นสรรเสริญ ฯ
การชำระหนังสือนี้ เมื่อแรกได้ใช้ฉบับที่พิมพ์ในหนังสือ "วชิรญาณ" ใน พ.ศ.๒๔๔๕ เป็นต้นฉบับ แต่เมื่ออ่านตรวจไปได้หน่อยหนึ่งก็เห็นได้ว่ามีผิดจนเสียความไปหลายแห่ง ที่สงสัยว่าผิดเพราะอ่อนไปกว่าฝีโอษฐ์กรมหลวงวงษาธิราชสนิท แต่ไม่ถึงเสียความก็มี จึงได้ให้หยอบฉบับสมุดไทยที่กล่าวมาแล้วออกมาสอบ ก็ได้ความที่ถูกแลดังที่คาดโดยมาก เห็นได้ทันทีว่าฉบับสมุดไทยนั้นเป็นฉบับดี ตลอดจนตัวสกดแลการันต์ก็ไม่พลัด ๆ เพลิด ๆ เหมือนหนังสือสมุดไทยโดยมาก ตัวสกดแลการันต์นั้นใช้เหมือนกับที่เราเคยใช้กันก่อนสมัยปัจจุบัน เข้าใจว่ากรมหลวงวงษาธิราชสนิทคงจะทรงใช้อย่างนั้น ผู้ชำระเห็นว่าเป็นความเปลี่ยนแห่งตัวสกดซึ่งเดิรเป็นหลั่นแต่โบราณมาจนปัจจุบันนั้น เป็นของซึ่งผู้ศึกษาพึงสังเกต เพราะฉะนั้นเมื่อได้ต้นฉบับที่เรียบร้อยถูกต้องตามวิธีซึ่งผู้มีความรู้เขียนกันมาในกรุงเทพ ฯ เมื่อประมาณ ๙๐ ปีมาแล้ว ก็ควรพิมพ์ไว้ให้เห็นเป็นเครื่องเทียบกับวิธีตัวสกดในสมัยนี้ เหตุดังนั้นจึงได้ชำระหนังสือนิราศเล่มนี้ ตามที่กรมหลวงวงษาธิราชสนิททรงเขียน แต่ในที่บางแห่งซึ่งผู้ชำระมีคำจะกล่าว ก็หมายเลขแลเขียนกล่าวลงไว้เป็นตัวหนังสือเล็กในเบื้องล่างแห่งน่านั้น ๆ
กรมหลวงวงศาธิราชสนิท แต่ง โคลงจินดามณี แต่งเป็น โคลงสี่สุภาพ โคลงกรทู้ กาพย์สุรางคนางค์ และกาพย์ยานี ให้ความรู้ภาษาไทย จริยาวัตรของโอรส และข้อปฏิบัติในการรับราชการ เช่นโคลงกระทู้ฉิบหายวายชนม์ เป็นต้น
กรมหลวงวงศาธิราชสนิท แต่ง โคลงนิราศพระประธม และ โคลงนิราศสุพรรณ และกลอนกลบทจารึกวัดพระเชตุพนฯด้วย คือ เพลงยาวกลบทสิงโตเล่นหาง
(9 กรกฎาคม พ.ศ. 2351 - 14 สิงหาคม พ.ศ. 2414) พระราชโอรสลำดับที่ 49 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ต้นราชสกุลสนิทวงศ์
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านวม กรมหลวงวงศาธิราชสนิท มีนามเดิมว่า พระองค์เจ้าชายนวม [note 1] ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาปรางใหญ่ ธิดาท่านขรัวยายทองอิน เมื่อวันเสาร์ เดือน 8 แรม 2 ค่ำ ปีมะโรง สัมฤทธิศก จ.ศ. 1170 ตรงกับวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2351[1] ทรงได้รับการศึกษาเบื้องต้นตามแบบฉบับของราชสำนักและทรงผนวชเป็นสามเณร ได้รับการศึกษาในสำนักสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส ในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ทรงได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้ด้านอักษรศาสตร์ ทั้งอักขรวิธีภาษาไทย ขอม และมคธ รวมทั้งวรรณคดี วิชาโบราณคดีและราชประเพณี[2]
ต่อมาทรงเข้ารับราชการในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกำกับกรมหมอหลวง และทรงศึกษาวิชาการแพทย์สมัยใหม่จากมิชชันนารีอเมริกัน [1] โปรดเกล้าฯสถาปนาขึ้นเป็น กรมหมื่นวงศาสนิท [3] เมื่อครั้นปี พ.ศ. 2392 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชปรารภ ถึงความเสื่อมโทรมของภาษาไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระองค์เจ้านวม ทรงแต่งตำราภาษาไทยขึ้นใหม่ เพื่ออนุรักษ์ภาษาไทย พระนิพนธ์เรื่อง “จินดามณี เล่ม 2” ซึ่งทรงดัดแปลงจากตำราเดิมสมัยอยุธยา อธิบายหลักเกณฑ์ภาษาไทยให้เข้าใจง่ายกว่าเดิม[2] ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯเลื่อนขึ้นเป็น กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ทรงกำกับราชการมหาดไทย ว่าพระคลังสินค้า และเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ทรงเป็นเจ้านายหนึ่งในสี่พระองค์ ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงหมายจะให้สืบราชบัลลังก์ต่อจากพระองค์ [1]
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท สิ้นพระชนม์ในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อวันพุธ เดือน 10 ขึ้น 6 ค่ำ ปีมะเมียโทศก ตรงกับวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2414 พระชันษา 63 พรรษา พระราชทานเพลิงพระศพ ณ วัดอรุณราชวราราม เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2414 [4]
ในปี พ.ศ. 2550 กระทรวงวัฒนธรรมได้เสนอพระนาม พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ในโครงการเฉลิมฉลองบุคคลสำคัญและเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของยูเนสโก ประจำปี 2551-2552 ในวาระครบรอบ 200 ปีของการประสูติ องค์การยูเนสโกได้มีมติรับรองในการประชุมเมื่อวันที่ 18-23 ตุลาคม 2550 ที่กรุงปารีส [5]
ในวาระแห่งวันคล้ายวันประสูติครบ 200 ปีของพระองค์ องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก (UNESCO) ได้ประกาศยกย่องให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงวงษาธิราชสนิททรงเป็นบุคคลสำคัญของโลกในสาขา
ปราชญ์และกวี (Scholar and Poet) ประจำปี พ.ศ. 2551 - 2552 และเป็นบุคคลที่มีผลงานด้านการศึกษาและวรรณกรรม การแพทย์และการสาธารณสุข และการต่างประเทศ
พระราชกรณียกิจสำคัญที่มีต่อการสร้างสรรค์ชาติไทยสามารถสรุปได้ดังนี้
1. ด้านการเมืองการปกครอง
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิททรงมีความคุ้นเคยกับวัฒนธรรมตะวันตกและชาวตะวันตกเป็นอย่างดี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการฝ่ายไทยร่วมกับกลุ่มขุนนางตระกูลบุนนาคในการเจรจาทำสนธิสัญญากับชาติตะวันตก ที่สำคัญได้แก่ สนธิสัญญาเบาว์ริง ทรงดำเนินนโยบายทางการทูตด้วยความประนีประนอมและผ่อนปรน ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศดำเนินไปด้วยดี
2. ด้านการแพทย์
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิททรงนิพนธ์ "ตำราสรรพคุณยาของกรมหลวงวงษาธิราชสนิท เล่ม 1 และเล่ม 2" นับเป็นตำราสมุนไพรไทยเล่มแรกของไทยที่มีการจำแนกสรรพคุณของสมุนไพรตามแบบวิทยาศาสตร์การแพทย์ตะวันตก ทรงเรียนรู้ในวิชาการแพทย์แผนตะวันตก ทรงเป็นแพทย์ไทยพระองค์แรกที่ได้รับการถวายประกาศนียบัตรและทรงได้รับการทูลเชิญให้เป็นสมาชิกของสถาบันการแพทย์แห่งนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา
3. ด้านวรรณกรรม
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิททรงมีพระปรีชาสามารถในการประพันธ์โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน พระนิพนธ์มีหลากหลายรูปแบบทั้งสาระและการบันเทิง เช่น หนังสือแบบเรียนจินดามณี เล่ม 2 และงานตรวจสอบชำระเรื่องพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เรื่องนิราศพระประธม เพลงยาวสามช
โคลงนิราศพระประธม
พระเจ้าบรมวงศเธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ทรงพระนิพนธ์นิราศนี้ในรัชกาลที่ ๓ เมื่อพระชนม์ ๒๖ พรรษา เวลานั้นยังทรงพระยศเป็นกรมหมื่น เสด็จอยู่วังในคลองตลาด ซึ่งเรียกตามตำนานวังเก่าว่าวังท้ายหับเผยวังที่ ๓ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จย้ายไปอยู่วังริมแม่น้ำเจ้าพระยาใต้วัดพระเชตุพน ซึ่งเป็นวังเดิมของสมเด็จกรมพระยาเดชาดิศร ครั้นถึงรัชกาลที่ ๔ เมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงรับพระราชทานบวรราชาภิเษกเสด็จย้ายจากพระราชวังเดิม (ธนบุรี) เข้าไปประทับในพระราชวังบวรแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้า ฯ ให้กรมหลวงวงษาธิราชสนิทเสด็จย้ายไปอยู่พระราชวังเดิม ได้เสด็จอยู่ที่นั้นต่อมาจนสิ้นพระชนม์
ผู้อ่านโคลงนิราศนี้ ถ้ายังมิได้เห็นมาก่อนแล้ว ก็คงจะเห็นเหมือนกันหมดในบัดนี้ว่า กรมหลวงวงษาธิราชสนิททรงพระปรีชาในเชิงกวีเป็นอันมาก นิราศนี้นับว่าเป็นกาพย์กลอนรุ่นแรกที่ทรงแต่ง ก่อนหน้านั้นคงจะได้ทรงแต่งแต่สั้น ๆ เป็นท่อนเล็กท่อนน้อยมามากแล้ว แต่หากไม่เป็นล่ำเป็นสันจึ่งไม่มีเหลืออยู่ โคลงจินดามณีซึ่งเป็นหนังสือสำคัญอยู่อย่างหนึ่งในกาพย์กลอนไทยนั้น ทรงแต่งภายหลังนิราศนี้ราว ๑๕ ปี
การแต่งนิราศนั้น แต่ก่อนมาไม่ว่าใครแต่ง คงจะเดิรความทำนองเดียวกันแทบทั้งนั้น ขึ้นต้นยอพระเกียรติ์พระเจ้าแผ่นดิน แล้วปรารภไปทางไกล กล่าวละห้อยละเหี่ยเป็นห่วงเมีย บางคนแสดงวิตกว่าเมียอยู่ข้างหลังจะไม่รักษาสัตย์ต่อผัว ที่กล่าวเช่นนั้นถ้าคิดดูตามความเห็นธรรมดาในสมัยนี้ก็ดูเป็นการดูหมิ่นอย่างร้ายแรง แต่อันที่จริงเป็นของซึ่งแต่ก่อนเขาไม่ถือ หรือเป็นของให้อภัยแก่ผู้แต่งนิราศ เพราะการกล่าวเป็นห่วงเมียว่าเกรงชายอื่นจะมาลอบลักเป็นชู้นั้น เป็นวิธีกล่าวยกยอความงามเลิศลอยซึ่งเป็นที่ต้องตาชายทั้งหลาย ใครเห็นก็ต้องอยากได้ เหมือนถ้ากล่าวเป็นห่วงเพ็ชร์ว่ากลัวถูกโขมย ก็หาเป็นการดูหมิ่นเพ็ชรไม่ ที่พูดเช่นนี้ฟังเหมือนหนึ่งหาว่าหญิงไม่ใช่คน แต่ถ้าจะพูดตามทางที่เขาแต่ง หญิงก็ไม่ใช่คนจริง ๆ เขาแต่งประสงค์จะเชิดความงามให้เด่น แลความงามนั้นเป็นคุณนามถึงจะมีในตัวมนุษย์ก็หาใช่มนุษย์ไม่ ตามนัยเช่นนี้อาจกล่าวต่อไปได้อีกชั้นหนึ่งว่า เมียที่กล่าวในนิราศนั้นเป็นของไม่จพเป็นจะต้องมีตัวมีตน เป็นแต่ความคิดเป็นเครื่องนึกขึ้นสำหรับช่วยให้แต่งโคลงไพเราะเท่านั้น เมียจริง ๆ อาจเป็นคนแก่หรือหญิงปราศจากความงาม ซึ่งถ้านึกถึงจริง ๆ ก็ไม่เป็นเครื่องนำปัญญาให้กาพย์กลอนไพเราะเกิดขึ้นได้ บางทีเมื่อเวลาไปจากบ้านนั้นเมียไปด้วย หรือนิราศนั้นแต่งเมื่อกลับถึงบ้านแล้ว หรือแต่งสำเร็จเมื่อกลับถึงบ้านแล้วช้านานก็เป็นได้ ข้าพเจ้าเองก้เคยแต่งโคลงนิราศเมื่อไม่ได้ไปไหนเลย แลในเวลานั้นเมียก็ยังไม่มี ข้อที่ไม่ได้ไปไหนแลไม่มีเมียนั้น หาเป็นเครื่องกีดกั้นไม่ให้แต่งโคลงนิราศไม่ ที่นำมากล่าวเช่นนี้เพื่อจะแสดงว่าเมียในนิราศนั้นเป็นความคิดเท่านั้น ไม่ใช่คนเลย
วิธีแต่งนิราศ เมื่อกล่าวเป็นห่วงเมียแล้ว ถึงตอนเดิรทาง เมื่อไปถึงไหนก็เอาชื่อตำบลนั้น หรือที่นั้นมากล่าวเทียบโยงไปให้ถึงเมียจนได้ ตอนเดิรดงเมื่อกล่าวถึงต้นไม้แลสัตว์ต่าง ๆ ก็เกลือกเอาแต่ต้นไม้แลสัตว์ซึ่งพอจะพูดวกเข้าหาเมียได้อย่างเดียวกัน วิธีแต่งเช่นนี้จะว่ายากก็ไม่ใช่จะว่าง่ายก็ไม่เชิง ที่ว่าไม่ยากนั้นก็เพราะความเปรียบนั้นมักจะนึกได้ในทันที แลไม่จำเป็นจะพูดถึงอะไรที่จะวกเข้าเปรียบกับนางไม่ได้ วิธีเปรียบนั้นเป็นต้นว่านกแก้วหรือต้นแก้วก็เปรียบว่านางคือแก้ว หรือแก้วตาแก้วใจ แล้วเลยใช้แก้วแปลว่า นางทีเดียว ฉะนี้เป็นตัวอย่าง ส่วนที่ว่าไม่ง่ายก็เพราะการเปรียบเช่นนั้นเขาทำกันมามากแล้ว ผู้แต่งใหม่จำจะต้องหลีกเลี่ยงไม่ให้เหมือนของเก่า ต้องให้ดีกว่า หรืออย่างนั้ยก็ไม่ให้เลวกว่า มิฉะนั้นก็ขายหน้า
กรมหลวงวงษาธิราชสนิททรงพระนิพนธ์ก็ทำนองนี้ แต่ไม่ทรงดำเนิรตามรอยทางเก่าที่เอาอย่าง (มักใช้ว่า "ล้อ") กันเป็นทอด ๆ เหมือนนรินทร์อินเอาอย่างศรีปราชญ์ ๆ เอาอย่างคนอื่นต่อขึ้นไปอีก เช่นรำพึงว่าจะฝากนางกับใครดี ฝากพระอินทร์ก็เกรงจะเป็นชู้ ฝากนั่นก็เกรงอย่างนั้น ฝากนี่ก็เกรงอย่างนี้ ในที่สุดก็ฝากนางกับใจนางเอง ดังนี้เป็นต้น กรมหลวงวงษาธิราชสนิททรงระบุชื่อนิราศซึ่งนิยมกันว่าดี คือ กำสรวญทวาทศมาส นิราศของพระพิพิธสาลี (เดิมเป็นพระศรีภูมิปรีชา ผู้แต่งอุเทนคำฉันท์ พระสุธนคำฉันท์ แลสูตรธนูคำฉันท์) นิราศพระยาตรัง แล นิราศนรินทร์ แต่ทรงกล่าวว่า "ไป่ลักเทีบยคำบุราณอื่นอ้าง" ซึ่งความจริงโดยประการที่มิได้ทรงเพ่งเล็งเอาอย่างใครเป็น แต่ทรงเดิรรูปตามแบบนิราศ และถ้าไม่ทรงเช่นนั้นก็ไม่เป็นนิราศ
ในการชำระครั้งนี้ได้ความรู้ใหม่อย่างหนึ่งว่า เมื่อกรมหลวงวงษาธิราชสนิททรงพระนิพนธ์นิราศนี้แล้ว ได้ทรงนำถวายพระอาจารย์ คือ สมเด็นกรมพระปรมานุชิตชิโนรส ให้ทอดพระเนตรแลทรงแก้ไข สมเด็จกรมพระปรมานุชิตทรงอ่านแล้ว จะได้ทรงแก้บ้างหรือไม่ไม่ทราบ ปรากฏแต่ว่าในสมุดไทยตัวดินสอขาวของกรมหลวงวงษาธิราชสนิท (ซึ่งเดี๋ยวนี้อยู่ในหอสมุดวชิรญาณ) นั้น เขียนเป็นตัวบรรจงฝีมืองาม แต่มีรอยขีดฆ่าบรรจงแล้วเขียนตัวหวัดแก้เปลี่ยนไปหลายแห่ง ที่แก้นั้นดีขึ้นกว่าเดิมทุกแห่ง ผู้แก้จะเป็นสมเด็จกรมพระปรมานุชิต หรือกรมหลวงวงษาธิราชสนิทจะทรงเองก็ทราบไม่ได้ ทราบได้แต่ว่า เมื่อสมเด็จกรมพระปรมานุชิตทรงอ่านตลอดแล้ว ก็ทรงโคลงเติมลงข้างท้ายว่า
๏ กรมวงษาสนิทผู้ ปรีชา เชี่ยวแฮ
เรียบรจเรขกถา เพราะพร้อง
เนืองเนกคณเมธา ทุกทั่ว อ่านเอย
ควรจักยอยศซร้อง แซ่ซั้นสรรเสริญ ฯ
การชำระหนังสือนี้ เมื่อแรกได้ใช้ฉบับที่พิมพ์ในหนังสือ "วชิรญาณ" ใน พ.ศ.๒๔๔๕ เป็นต้นฉบับ แต่เมื่ออ่านตรวจไปได้หน่อยหนึ่งก็เห็นได้ว่ามีผิดจนเสียความไปหลายแห่ง ที่สงสัยว่าผิดเพราะอ่อนไปกว่าฝีโอษฐ์กรมหลวงวงษาธิราชสนิท แต่ไม่ถึงเสียความก็มี จึงได้ให้หยอบฉบับสมุดไทยที่กล่าวมาแล้วออกมาสอบ ก็ได้ความที่ถูกแลดังที่คาดโดยมาก เห็นได้ทันทีว่าฉบับสมุดไทยนั้นเป็นฉบับดี ตลอดจนตัวสกดแลการันต์ก็ไม่พลัด ๆ เพลิด ๆ เหมือนหนังสือสมุดไทยโดยมาก ตัวสกดแลการันต์นั้นใช้เหมือนกับที่เราเคยใช้กันก่อนสมัยปัจจุบัน เข้าใจว่ากรมหลวงวงษาธิราชสนิทคงจะทรงใช้อย่างนั้น ผู้ชำระเห็นว่าเป็นความเปลี่ยนแห่งตัวสกดซึ่งเดิรเป็นหลั่นแต่โบราณมาจนปัจจุบันนั้น เป็นของซึ่งผู้ศึกษาพึงสังเกต เพราะฉะนั้นเมื่อได้ต้นฉบับที่เรียบร้อยถูกต้องตามวิธีซึ่งผู้มีความรู้เขียนกันมาในกรุงเทพ ฯ เมื่อประมาณ ๙๐ ปีมาแล้ว ก็ควรพิมพ์ไว้ให้เห็นเป็นเครื่องเทียบกับวิธีตัวสกดในสมัยนี้ เหตุดังนั้นจึงได้ชำระหนังสือนิราศเล่มนี้ ตามที่กรมหลวงวงษาธิราชสนิททรงเขียน แต่ในที่บางแห่งซึ่งผู้ชำระมีคำจะกล่าว ก็หมายเลขแลเขียนกล่าวลงไว้เป็นตัวหนังสือเล็กในเบื้องล่างแห่งน่านั้น ๆ
กรมหลวงวงศาธิราชสนิท แต่ง โคลงจินดามณี แต่งเป็น โคลงสี่สุภาพ โคลงกรทู้ กาพย์สุรางคนางค์ และกาพย์ยานี ให้ความรู้ภาษาไทย จริยาวัตรของโอรส และข้อปฏิบัติในการรับราชการ เช่นโคลงกระทู้ฉิบหายวายชนม์ เป็นต้น
กรมหลวงวงศาธิราชสนิท แต่ง โคลงนิราศพระประธม และ โคลงนิราศสุพรรณ และกลอนกลบทจารึกวัดพระเชตุพนฯด้วย คือ เพลงยาวกลบทสิงโตเล่นหาง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)